search box

Loading

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การประชุมเอเปค

APEC

เอเปค(APEC)

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเอเปค
ภูมิหลัง
เอเปค (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC)” เป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างเขตเศรษฐกิจ1 (economy) ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.. 2532 (.. 1989) โดยนายBobHawkeนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียในขณะนั้นที่มองว่าออสเตรเลียจาเป็นต้องเกาะเกี่ยวกับเศรษฐกิจใน
ภูมิภาคโดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกและทวีปอเมริกาเหนือท่ามกลางแนวโน้มของการขยายกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในยุโรปและอเมริกาเหนือและความไม่แน่นอนของการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
ไทยอยู่ในสมาชิกแรกเริ่มของเอเปคตั้งแต่ต้นซึ่งมี 12 เขตเศรษฐกิจคือออสเตรเลียบรูไนแคนาดา
อินโดนีเซียญี่ปุ่นเกาหลีใต้มาเลเซียนิวซีแลนด์ฟิลิปปินส์สิงคโปร์ไทยและสหรัฐอเมริกาต่อมาเอเปคได้รับสมาชิกเพิ่มในปีต่างๆรวมเป็น 21 เขตเศรษฐกิจดังนี้สาธารณรัฐประชาชนจีน (2534) เขตบริหารพิเศษฮ่องกง (2534) จีนไทเป (2534) เม็กซิโก (2536) ปาปัวนิวกินี (2536) ชิลี (2537) เปรู (2540) เวียดนาม
(2540) และรัสเซีย (2540)เอเปคเป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีพลังและพลวัตรของการเจริญเติบโตสูงสุดของโลกโดยมีGDP per capita เมื่อปีพ.. 2532 เท่ากับ 5314 (Non-APEC เท่ากับ 4149) และปีพ.. 2551 เท่ากับ 14169(Non-APEC เท่ากับ 7822) สมาชิกมีประชากรรวมกันประมาณ 2,639 ล้านคนคิดเป็นสัดส่วนประมาณ45% ของประชากรโลกและมีการค้ารวมกันมากกว่า 24,994 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 46% ของการค้าโลกและ 57% ของ GDP โลกผลผลิตการค้าและการลงทุนของเอเปคมีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของโลกภูมิภาคเอเซียแปซิฟิคมีการค้ากันเองภายในกลุ่มร้อยละ 70 และการค้านอกกลุ่มร้อยละ 30 การที่เอเปคมีสัดส่วนการค้าภายในกลุ่มสูงทาให้เอเปคเป็นตลาดที่มีศักยภาพและมีส่วนสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มของภูมิภาคนี้ (ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ 9 กุมภาพันธ์ 2553)เอเปคสนับสนุนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคแบบเปิดกว้าง (open regionalism) โดยสิทธิ
ประโยชน์ที่สมาชิกเอเปคให้แก่กันจะมีผลให้ผู้ที่มิได้เป็นสมาชิกเอเปคได้รับประโยชน์ด้วย (ปกติกลุ่มความ
ร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่นจะให้สิทธิประโยชน์แก่กันและกันเฉพาะในกลุ่มและใช้หลักการเจรจาต่างตอบแทนเพื่อแลกเปลี่ยนสิทธิประโยชน์กับประเทศที่มิได้เป็นสมาชิก) เอเปคมีเป้าหมายสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคี (multilateral trading system) โดยการดาเนินการของเอเปคจะเป็นการหารืออย่างตรงไปตรงมามิใช่
การเจรจาแต่ยึดหลักการฉันทามติ (consensus) และความสมัครใจ (voluntarism) ของทุกฝ่ายความเท่า
เทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของสมาชิกโดยคานึงถึงความแตกต่างของระบบเศรษฐกิจและสังคมและ
ระดับการพัฒนาของสมาชิก
1 ในบริบทของเอเปคจะใช้คาว่าเขตเศรษฐกิจ (economy)” แทนคาว่าประเทศเนื่องจากสมาชิกของเอเปคสองรายคือเขตบริหารพิเศษฮ่องกงและจีนไทเปมิได้มีสถานะเป็นประเทศแต่ได้รับการยอมรับให้เข้าเป็นสมาชิกในฐานะที่เป็นเขตเศรษฐกิจที่มีความสาคัญในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเป้าหมายของเอเปคคือเป้าหมายโบกอร์ที่สมาชิกเอเปคเห็นชอบในระหว่างการประชุมผู้นาฯที่เมืองโบกอร์ประเทศอินโดนีเซียเมื่อปี 2537 ที่จะให้มีการเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคโดยเริ่มจากสมาชิกที่พัฒนาแล้วภายในปี 2553 (.. 2010) และสมาชิกกาลังพัฒนาที่เหลือภายในปี 2563(.. 2020)
การค้าระหว่างไทยกับเอเปค(ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ 9 กุมภาพันธ์ 2553)
เอเปคมีบทบาทสาคัญด้านการค้าและการลงทุนของไทยโดยในปี 2552 การค้าระหว่างไทยกับสมาชิกเอเปคมีมูลค่า 193,432.6 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 67.6 ของมูลค่าการค้ารวมของไทย
เอเปคเป็นตลาดส่งออกสาคัญที่สุดของไทยในปี 2552 ไทยส่งออกไปเอเปคมูลค่า 102,686 ล้านเหรียญ
สหรัฐคิดเป็นร้อยละ 67.3 ของมูลค่าการส่งออกรวมของไทยสินค้าออกสาคัญของไทยไปเอเปคที่ลดลง
ได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบแผงวงจรไฟฟ้ารถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ
ยางพาราเม็ดพลาสติกเหล็กเหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์น้ามันสาเร็จรูปเป็นต้นส่วนสินค้าส่งออกที่
เพิ่มขึ้นได้แก่อัญมณีและเครื่องประดับผลิตภัณฑ์ยางเคมีภัณฑ์หนังสือและสิ่งพิมพ์ผลิตภัณฑ์มัน
สาปะหลังกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งเครื่องซักผ้าเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบเอเปคเป็นแหล่งนาเข้าสาคัญที่สุดของไทยโดยในปี 2552 ไทยนาเข้าจากเอเปคมูลค่า 90,746.5 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นร้อยละ 67.8 ของการนาเข้ารวมของไทยสินค้าที่ไทยนาเข้าเพิ่มขึ้นจากเอเปคได้แก่เครื่องบินเครื่องร่อนอุปกรณ์ผักผลไม้และของปรุงแต่ที่ทาจากผักผลไม้แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ยุทธปัจจัยเลนซ์และส่วนประกอบข้าวและผลิตภัณฑ์จากแป้งอาหารปรุงแต่งสาหรับเลี้ยงทารกส่วนสินค้าที่นาเข้าลดลงจากเอเปคได้แก่เครื่องจักรกลและส่วนประกอบแผงวงจรไฟฟ้าเหล็กเหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบเคมีภัณฑ์เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบน้ามันดิบเป็นต้น
โครงสร้างองค์กรของเอเปค(ที่มา: กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 8 มีนาคม 2550)
โดยที่เอเปคก่อตั้งขึ้นมาด้วยความต้องการที่จะเป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจแบบหลวมๆจึง
ไม่มีการจัดตั้งโครงสร้างองค์กรกลางในลักษณะเช่นเดียวกับองค์การความร่วมมืออื่นๆเช่นสหภาพยุโรป
หากแต่ประกอบด้วยโครงสร้างองค์กรที่สาคัญๆ 2 ส่วนคือส่วนที่เป็นกลไกการดาเนินงานในแต่ละปีซึ่งเป็นความรับผิดชอบของสมาชิกที่ได้รับเลือกให้เป็นประธานของการประชุมปีนั้นๆและส่วนที่เป็นองค์กรกลางที่เรียกว่าสานักเลขาธิการเอเปค (APEC Secretariat) ซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี 2535 เพื่อทาหน้าที่คล้ายกับเป็นฝ่ายเลขานุการให้การสนับสนุนสมาชิกที่เป็นประธานการประชุมเอเปคในแต่ละปีโดยที่ประธานการประชุมเอเปคจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทุกปีทาให้ไม่สามารถติดตามความคืบหน้าการดาเนินการต่างๆได้อย่างต่อเนื่องสานักเลขาธิการเอเปคจึงเปรียบเสมือนหน่วยความจาภาคสถาบัน (institutional memory) เพื่อทางหน้าที่ติดตามประสานงานให้มีความต่อเนื่องของกิจกรรมความร่วมมือต่างๆประเทศไทยดารงตาแหน่งรองผู้อานวยการบริหารสานักเลขาธิการเอเปคในปี 2545 และผู้อานวยการบริหารฯในปี 2546
สาหรับโครงสร้างองค์กรส่วนที่ 1 นั้นประกอบด้วยกลไกการดาเนินการหลัก 6 ระดับได้แก่
1. การประชุมผู้นาเศรษฐกิจ (Economic Leaders’ Meeting)
เป็นการประชุมระดับสูงสุดของเอเปคโดยมีผู้นาประเทศ/รัฐบาลและเขตเศรษฐกิจของแต่ละสมาชิกเข้าร่วมประชุมจัดประชุมปีละ 1 ครั้งครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาเมื่อพ.. 2536 (.. 1993) สาหรับประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลเป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุมฯเจ้าภาพจะสลับกันไประหว่างสมาชิกจากกลุ่มอาเซียนและสมาชิกนอกกลุ่มอาเซียนในอัตรา 1 ต่อ 2 สาหรับสมาชิกเอเปคที่จะเป็นเจ้าภาพต่อจากประเทศไทยในปี 2546 ได้แก่ชิลี (2547) สาธารณรัฐเกาหลี (2548) เวียดนาม (2549) ออสเตรเลีย(2550) เปรู (2551) สิงคโปร์ (2552) และญี่ปุ่น (2553)
2. การประชุมรัฐมนตรี (Ministerial Meeting)
เป็นการประชุมร่วมของรัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านการค้าประจาปีเจ้าภาพจัดการประชุมคือสมาชิกที่เป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคในปีนั้นประชุมปีละ 1 ครั้งครั้งแรกเมื่อพ.. 2532 (..1989) สาหรับประเทศไทยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะเป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุมและในส่วนของการประชุมรัฐมนตรีรายสาขามีทั้งหมด 16 สาขา (.. 1992-2009)โดยในปีนี้ญี่ปุ่นซึ่งเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมเอเปคได้เสนอให้เพิ่มเติมการประชุมรัฐมนตรีภาคเกษตรเอเปค(เปลี่ยนเป็นรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปคภายหลัง) ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่
 16-17 ตุลาคม 2553 ณเมืองนิอิกาตะประเทศญี่ปุ่น
3. การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials’ Meetings - SOMs)
โดยธรรมเนียมปฏิบัติจะมีการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอย่างเป็นทางการ 3 ครั้งและไม่เป็นทางการ 2 ครั้ง
(ในช่วงต้นของปีที่เข้ารับหน้าที่เป็นประธานและช่วงปลายปีก่อนการประชุมรัฐมนตรีเอเปค) สาหรับประเทศไทยมีปลัดกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม SOM ทำหน้าที่พิจารณาการดาเนินการของเอเปคในทุกๆด้านรวมทั้งติดตามความคืบหน้าของกิจกรรมภายใต้คณะทางานและกลุ่มทางานต่างๆของเอเปคการบริหารงานของสานักเลขาธิการเอเปค (APEC
Secretariat) และงบประมาณสาหรับกิจกรรมต่างๆของเอเปคเพื่อเสนอให้ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีพิจารณา
ให้ความเห็นชอบต่อไปสาหรับปี 2546 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพปลัดกระทรวงการต่างประเทศได้ทาหน้าที่
ประธานการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM Chair) โดยมีอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศกระทรวงการ
ต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย (SOM Leader)



4. การประชุมรัฐมนตรีเอเปคในสาขาต่างๆ (Sectoral Ministerial Meetings)
เอเปคจัดประชุมรัฐมนตรีรายสาขาตามวาระที่กาหนดที่ผ่านมามีการประชุมรัฐมนตรีรายสาขาได้แก่ด้าน
การค้าด้านการศึกษาด้านพลังงานด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการคลังด้านการพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้านโทรคมนาคม
และอุตสาหกรรมสารสนเทศและด้านการขนส่งสาหรับปี 2546 มีการประชุมรัฐมนตรีด้านต่างๆในประเทศไทยดังนี้รัฐมนตรีด้านการค้า (2-3 มิถุนายน) รัฐมนตรีสาธารณสุขสมัยพิเศษเพื่อพิจารณาเรื่องโรคซาร์ส(27-28 มิถุนายน) รัฐมนตรีด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (7-8 สิงหาคม) รัฐมนตรีคลัง (4-5
กันยายน) และรัฐมนตรีเอเปคซึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีพาณิชย์ (17-18 ตุลาคม)
5. คณะกรรมการ Committees) เอเปคมี 4 คณะกรรมการหลักได้แก่
5.1 คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการลงทุน (Committee on Trade and Investment - CTI) เป็นเวที
ปรึกษาหารือและติดตามการดาเนินการด้านการเปิดเสรีและการอานวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน
5.2 คณะกรรมการเศรษฐกิจ (Economic Committee - EC) ทาหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์แนวโน้มและประเด็นที่อยู่ในความสนใจของสมาชิกเอเปคเพื่อสนับสนุนการดาเนินการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการของเอเปครวมทั้งหารือแนวทางการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจของสมาชิกเอเปค
5.3 คณะกรรมการว่าด้วยงบประมาณและการบริหาร (Budget and Management Committee - BMC) มี
บทบาทในการให้คาแนะนาต่อเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคในด้านงบประมาณการบริหารและการจัดการประเทศ
ไทยดารงตาแหน่งรองประธาน BMC ในปี 2546 และประธานในปี 2547
5.4 คณะกรรมการอานวยการของเจ้าหน้าที่อาวุโสว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ
(SOM Steering Committee on Economic and Technical Cooperation - SCE) มีบทบาทในการประสาน
และกาหนดกรอบนโยบายด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (Economic and Technical
Cooperation - ECOTECH) รวมทั้งติดตามผลการดาเนินงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นรูปธรรมในระหว่างปี 2543-2544 ประเทศไทยเคยได้รับเลือกให้ดารงตาแหน่งประธานคณะกรรมการ SCE เป็นเวลา 2 ปี (2543-2544)
6. คณะทางาน (Working Groups) เป็นการประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาประเด็นเฉพาะด้านในขณะนี้
เอเปคมีคณะทางานที่รับผิดชอบด้านต่างๆดังนี้
- การส่งเสริมการค้า (Trade Promotion)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม (Industrial Science and Technology)
- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development)
- พลังงาน (Energy)
- โทรคมนาคมและสารสนเทศ (Telecommunications and Information)
- ประมง (Fisheries)
- การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล (Marine Resources Conservation)
- การขนส่ง (Transportation)
- ความร่วมมือทางเทคนิคการเกษตร (Agricultural Technical Cooperation)
- การท่องเที่ยว (Tourism)
- วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งคณะทางานหรือกลุ่มทางานเฉพาะกิจในด้านอื่นๆอาทิคณะทางานเฉพาะกิจด้าน
การต่อต้านการก่อการร้าย (Counter-Terrorism Task Force) กลุ่มทางานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Commerce Steering Group) และเครือข่ายเฉพาะกิจเพื่อประสานงานด้านสตรี (Gender Focal
Point Network) เป็นต้น
งบประมาณ
งบประมาณการดาเนินงานหลักของเอเปคในแต่ละปีมาจากเงินสนับสนุนของสมาชิกตามสัดส่วนของ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติสาหรับไทยมีพันธกรณีที่จะต้องจ่ายค่าบารุงประจาปีแก่เอเปคระหว่างปี
2009-2010 เป็นเงินจานวน 75,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2.4 ล้านบาทอัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐ
= 32 บาท) หรือร้อยละ 1.5 ของเงินค่าบารุงของเอเปคทั้งหมดแต่ก็ได้รับประโยชน์กลับคืนในรูปแบบของการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนโครงการต่างๆที่เสนอโดยไทยเป็นจานวนมากกว่าเงินค่าบารุงทุกปี
บทบาทของภาคเอกชน
นอกเหนือจากกลไกหลักของภาคราชการแล้วเอเปคยังมีกลไกที่สาคัญของภาคเอกชนคือสภาที่ปรึกษา
ทางธุรกิจเอเปค (APEC Business Advisory Council – ABAC) ซึ่งทาหน้าที่เปรียบเสมือนที่ปรึกษาเพื่อให้คาแนะนำแก่ผู้นาฯในการดาเนินการเพื่อเปิดเสรีและอานวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุนสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปคประกอบด้วยสมาชิก 63 รายที่มาจากการแต่งตั้งโดยผู้นาของแต่ละเขตเศรษฐกิจจานวน 3 คน/เขตเศรษฐกิจในส่วนของไทยประกอบด้วยผู้แทนจากสภาหอการค้าไทยผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมไทยและผู้แทนจากสมาคมธนาคารไทยเป็นผู้แทนไทยในสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจทั้งนี้สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจจะจัดการประชุมปีละ 4 ครั้งเพื่อหารือในหมู่นักธุรกิจภาคเอกชนและจัดทาข้อเสนอแนะเพื่อเสนอต่อที่ประชุมผู้นำฯในช่วงปลายปีอนึ่งนอกจากการประชุมผู้นาเศรษฐกิจเอเปคในช่วงปลายปีแล้วภาคเอกชนยังได้จัดกิจกรรมสาคัญคือการประชุมสุดยอดผู้นาภาคเอกชนของเอเปค (APEC CEO Summit) ในช่วงเดียวกับการจัดประชุมผู้นาเอเปคเพื่อหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างนักธุรกิจชั้นนาของ
เอเปคจำนวนกว่า 500 คนจาก
21 เขตเศรษฐกิจโดยจะมีการเชิญบุคคลผู้มีชื่อเสียงจากภาครัฐเอกชนรวมทั้งผู้นาเอเปคหลายท่านขึ้นกล่าว
สุนทรพจน์ในหัวข้อต่างๆที่เป็นที่สนใจของที่ประชุมในปี 2546 ประเทศไทยได้จัดการประชุมสุดยอดผู้นา
ภาคเอกชนของเอเปคขึ้นเช่นกันเมื่อเดือนสิงหาคม 2553 ณกรุงเทพฯ

งานของเอเปคเน้นความเท่าเทียมกันของการดำเนินงาน 3 ด้าน ดังนี้
1) การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Liberalization)
2) การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Facilitation)
3) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (Economic and Technical Cooperation: ECOTECH)
เอเปคเป็นกรอบความร่วมมือระหว่างเศรษฐกิจต่างๆ (economies) ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่สถาปนาขึ้นเมื่อปี พ.. 2532 (.. 1989) เพื่อตอบสนองต่อภาวะการพึ่งพาทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคปัจจุบันเอเปคมีสมาชิก 21 ราย ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไน ดารุสซาลาม แคนาดา ชิลี สาธารณรัฐประชาชนจีน เขตปกครองพิเศษฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี เปรู สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สหพันธรัฐรัสเซีย สิงคโปร์ จีนไทเป ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม
            เอเปคมีวัตถุประสงค์หลัก ๆ ในการพัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าในระดับพหุภาคีสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลกเพื่อลดอุปสรรคและอำนวยความสะดวกทางการค้า (สินค้าและบริการ) และการลงทุนระหว่างสมาชิก โดยให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของแกตต์/องค์การการค้าโลก
สำหรับนโยบายของเวทีเอเปคนั้น ไม่ใช่เวทีเจรจาการค้า แต่เป็นเวทีสำหรับปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่ประเทศสมาชิกสนใจ และ สนับสนุนแนวทางภูมิภาคนิยมแบบเปิด (open regionalism) ที่ไห้สิทธิประโยชน์กับประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกเอเปคเช่นเดียวกับที่ให้กับสมาชิก (non-discrimination) เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีของการเปิดเสรีและเพื่อกระตุ้นการเปิดเสรีของประเทศนอกกลุ่มด้วย นอกจากนี้การดำเนินการใดๆ ยึดหลักฉันทามติ ความสมัครใจ ความเท่าเทียมกัน และการมีผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก


ลำดับสาระการประชุมในครั้งที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน
สาระสำคัญของการประชุมเอเปค

กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ
พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989)

             การประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศของเอเปคครั้งแรกที่กรุงแคนเบอร์รา ออสเตรเลียเพื่อจัดตั้งกลุ่มหารือในกรอบความร่วมมือเอเปค ประกอบด้วยสมาชิกเริ่มต้น 12 ราย (ออสเตรเลีย บรูไน ดารุสซาลาม แคนาดา อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซียนิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และสหรัฐอเมริกา)ที่ประชุมเล็งเห็นความสำคัญของการมีเวทีหารือด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคและตกลงให้มีการหารือเป็นประจำทุกปี

พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990)

             การประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 2 ของเอเปคที่สิงคโปร์เพื่อหารือถึงรูปแบบขององค์กรเอเปค อย่างเป็นทางการ ที่ประชุมเห็นว่าเอเปคควรเป็นเวทีสำหรับการหารืออย่างกว้างๆ มากกว่าเวทีเพื่อ  การเจรจาและการดำเนินการต่างๆ ของเอเปคควรยึดถือหลักการฉันทามติ (consensus) ความสมัครใจ (voluntarism) ของทุกฝ่ายความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของสมาชิกโดยคำนึงถึงความแตกต่างของระบบเศรษฐกิจและสังคมและระดับการพัฒนาของสมาชิก

พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991)

             การประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 3 ที่กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลีได้กําหนดเป้าหมายเพื่อธำรงไว้ซึ่งการเจริญเติบโตและการพัฒนาในภูมิภาคส่งเสริมประโยชน์จากการขยายตัวของการค้าสินค้าและบริการรวมทั้งการไหลเวียนของทุนและเทคโนโลยี พัฒนาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบ   การค้าพหุภาคี (multilateral trading system) และลดอุปสรรคทางการค้าสินค้าและบริการระหว่างสมาชิกโดยไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจอื่นๆ
พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992)

             การประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 4 ของเอเปคที่กรุงเทพฯโดยมีการออกแถลงการณ์ประกาศ    จัดตั้งสำนักเลขาธิการเอเปค (APEC Secretariat) ขึ้นที่สิงคโปร์เพื่อทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการของ
การประชุมและดำเนินการประสานงานในเรื่องต่างๆในกรอบความร่วมมือของเอเปค อันนับเป็น         ก้าวแรกของการสร้างกลไกเพื่อติดตามให้มีความต่อเนื่องในกิจกรรมความร่วมมือต่างๆของเอเปค  อย่างถาวร


พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993)

             ด้วยความคิดริเริ่มของประธานาธิบดี Bill Clinton ได้มีการยกระดับความสำคัญของกรอบความร่วมมือเอเปคไปสู่ระดับผู้นำโดยนอกเหนือจากการประชุมระดับรัฐมนตรีของเอเปคประจำปีแล้วยังมีการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคครั้งแรกที่เกาะเบลคเมืองซีแอตเติ้ล โดยมีการออกแถลงการณ์ว่าด้วยวิสัยทัศน์ทางเศรษฐกิจของผู้นำเอเปค (APEC Leaders Economic Vision Statement) ซึ่งมีสาระคือการมีประชาคมเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกที่มีการค้าและการลงทุนเสรีนำไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีในลักษณะที่ไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมส่งเสริมความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกโดยรวม และการมีระบบการค้าพหุภาคีแบบเปิด

พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994)

             การประชุมระดับผู้นำเศรษฐกิจเอเปคครั้งที่ 2 ที่เมืองโบกอร์ อินโดนีเซีย ได้มีการออกปฏิญญาโบกอร์ว่าด้วยเจตนารมณ์ร่วมของเอเปค (The Bogor Declaration of Common Resolve) โดยกําหนดเป้าหมายของเอเปคที่จะให้มีการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคภายในปีพ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) สำหรับสมาชิกที่พัฒนาแล้ว และพ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) สำหรับสมาชิกกำลังพัฒนาที่เหลือ พร้อมกับกำหนดให้การดำเนินการของเอเปคประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Liberalisation) การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Facilitation) และความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและวิชาการ (Economic and Technical Cooperation - ECOTECH)


พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995)

             การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคครั้งที่ 3 ที่นครโอซากา ญี่ปุ่น ได้แปลงเอาปฏิญญาโบกอร์ที่ผู้นำฯได้ประกาศไว้เมื่อปีก่อนมากำหนดเป็นแผนปฏิบัติการโอซาก้า (Osaka Action Agenda - OAA) สำหรับเป็นแนวทางในการดำเนินงานเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุนโดยแผนปฏิบัติการโอซาก้าประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เกี่ยวกับการเปิดเสรีและอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Liberalisation and Facilitation - TILF) และส่วนที่ 2 เกี่ยวกับกิจกรรมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (ECOTECH) ใน 13 สาขาความร่วมมือได้แก่ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมวิสาหกิจขนาดเล็กและกลาง โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ พลังงาน การขนส่งโทรคมนาคมและสารสนเทศ การท่องเที่ยว ข้อสนเทศด้านการค้าและการลงทุน  การส่งเสริมการค้า การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล การประมงและเทคโนโลยีด้านการเกษตร

พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996)

             การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคครั้งที่ 4 ที่อ่าวซูบิค ฟิลิปปินส์ได้เห็นชอบแผนปฏิบัติการมะนิลาเพื่อดำเนินการในด้านการเปิดเสรีและอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุนและกำหนดขอบข่ายลำดับความสำคัญของกิจกรรมความร่วมมือในกรอบ ECOTECH ให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการโอซาก้าโดยมีการกำหนดเครื่องมือที่จะใช้ผลักดันกิจกรรมความร่วมมือบนพื้นฐานของความสมัครใจได้แก่

             1.แผนปฏิบัติการรายสมาชิกของเอเปค (Individual Action Plans - IAPs) สำหรับการเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุนใน 14 สาขาเสมือนเป็นการประกาศเจตนารมณ์ของแต่ละสมาชิกในแต่ละปี
ที่จะดำเนินการปรับปรุงกฎระเบียบและนโยบายในสาขาต่างๆแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยสมาชิกรายอื่นๆ สามารถติดตามตรวจสอบและให้ข้อคิดเห็นได้
             2.แผนปฏิบัติการร่วม (Collective Action Plans - CAPs) เป็นแผนงานที่สมาชิกเอเปคทุกรายจะปฏิบัติร่วมกันเพื่อเสริมกับแผนปฏิบัติการรายสมาชิกในการเปิดเสรีและอำนวยความสะดวกด้าน  การค้าและการลงทุน
             3.กิจกรรมร่วม (Joint Activities) ในด้าน ECOTECH  ซึ่งประกอบด้วยโครงการความร่วมมือต่างๆ จนถึงขณะนี้มีกว่า 300 โครงการที่ดำเนินการภายใต้กรอบของคณะกรรมการ/คณะทำงานต่างๆ ของเอเปคนอกจากนี้ยังได้เห็นชอบกรอบความตกลงว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาในเอเปคเห็นชอบกรอบความร่วมมือเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเงินในภูมิภาคเอเชียและเรียกร้องให้มหาอำนาจทางเศรษฐกิจเข้ามามีบทบาทมากขึ้นใน
การแก้ไข/บรรเทาปัญหาระดับโลกนี้
พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997)

             การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคครั้งที่ 5 ที่นครแวนคูเวอร์ แคนาดา ได้เห็นชอบให้มีการเปิดเสรีล่วงหน้ารายสาขาตามความสมัครใจ (Early Voluntary SectoralLiberalisation- EVSL) ก่อนกําหนดการเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุนในภูมิภาคเอเปคที่กำหนดไว้ในปี ค.ศ. 2010/2020 ใน 15 สาขา อาทิ  ปลาและผลิตภัณฑ์ปลา ผลิตภัณฑ์ป่าไม้ อุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์พลังงาน ของเล่น อัญมณีและเครื่องประดับ เคมีภัณฑ์ เมล็ดพืชน้ำมันและผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องบินพลเรือน ปุ๋ย ยางธรรมชาติ และรถยนต์ เป็นต้นแต่ต่อมาที่ประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคครั้งที่ 6   กรุงกัวลาลัมเปอร์มาเลเซียมีมติให้นำ EVSL ใน 8 สาขาไปใช้เป็นพื้นฐานในการขยายผลในกรอบขององค์การการค้าโลก (WTO) ภายใต้ชื่อ Accelerated Tariffs Liberalisation (ATL)

             นอกจากนี้ยังได้รับรองกรอบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนในโครงการโครงสร้างพื้นฐาน (Vancouver Framework for Enhanced Public - Private Partnership for Infrastructure Development)

พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998)

             การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคครั้งที่ 6 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซียเกิดขึ้นท่ามกลางสภาวะวิกฤตการณ์ทางการเงินและเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียซึ่งมีส่วนทำให้สมาชิกเอเปคไม่สามารถผลักดันให้เกิดฉันทามติและความคืบหน้าในการดำเนินการด้านการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนแต่เพียงอย่างเดียวได้โดยเฉพาะการดำเนินการตามข้อริเริ่มตามแนวทางการเปิดเสรีล่วงหน้ารายสาขาตามความสมัครใจ (EVSL) ที่ได้รับความเห็นชอบตั้งแต่ปีก่อนหน้าและในที่สุดที่ประชุมได้มีมติให้นำเอา  ข้อริเริ่มดังกล่าวไปผลักดันต่อในกรอบขององค์การการค้าโลก (WTO) ต่อไปผลจากวิกฤตเศรษฐกิจ   ยังทำให้เอเปคตระหนักถึงความสำคัญของการเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่สมาชิกในการเผชิญกับโลกาภิวัตน์และได้ผลักดันให้เกิดความคืบหน้าในด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (ECOTECH)
พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999)

             ภายใต้สภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคครั้งที่ 7 ที่เมืองโอ๊คแลนด์ นิวซีแลนด์ยังคงเน้นแนวทางในการส่งเสริมให้มีการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เช่นการรับรองหลักการเอเปคว่าด้วยนโยบายการแข่งขัน (APEC Principles to Enhance Competition and Regulatory Reform) และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคม อาทิข้อเสนอระบบอาหารของเอเปค (APEC Food System) ซึ่งมุ่งความมั่นคงด้านอาหารผ่าน 1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในชนบท 2) การส่งเสริมการค้าอาหาร 3) การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและแปรรูปอาหาร และกรอบการบูรณาการบทบาทสตรีในเอเปค (Framework for Integration of Women in APEC) ในด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation) ที่ประชุมได้สนับสนุนให้มีการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกตลาด (Strengthening the Functioning of markets) การปฏิรูปกฎระเบียบด้านการค้าและการเงินการเพิ่มความโปร่งใสในด้านกฎระเบียบการค้าและการส่งเสริมการแข่งขันและขยายโอกาสทางธุรกิจสำหรับภาคเอกชนในภูมิภาคนอกจากนี้ยังได้พิจารณามาตรการแก้ไขปัญหาเรื่อง Y2K และการประชาสัมพันธ์ (Outreach Program) ให้มากยิ่งขึ้น

พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000)

             การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคครั้งที่ 8 ที่บันดาร์ เสรี เบกาวัน บรูไนดารุสซาลาม ได้พิจารณาประเด็นเรื่องโลกาภิวัตน์ (Globalisation) ภาคเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) และการเสริมสร้างขีดความสามารถ (Capacity Building) ให้สมาชิกเอเปคสามารถปรับตัวและใช้ประโยชน์จากโลกาภิวัตน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมีการตั้งเป้าหมายให้ประชากรของเอเปคทั้งหมดสามารถเข้าถึงอินเตอร์เนตได้ภายในปีค.ศ. 2010 โดยอย่างน้อยภายในปี ค.ศ. 2005 จะต้องมีประชากรที่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เนตได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าของที่มีอยู่ก่อนนอกจากนี้ยังได้รับรองเอกสารข้อริเริ่มเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development) ในศตวรรษที่ 21 และเห็นพ้องให้มีการจัดการประชุมระดับสูงด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ (High-level Meeting on Human Capacity Building) ในปี 2544 ที่ประเทศจีน



พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001)

             การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคครั้งที่ 9 ที่นครเซี่ยงไฮ้ จีน จัดขึ้นท่ามกลางวิกฤตการณ์ความไม่แน่นอนภายในภูมิภาคเมื่อเกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายที่กรุงวอชิงตัน ดี ซีและนครนิวยอร์กของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ประเด็นเรื่องการต่อต้านการก่อการร้ายจึงได้เริ่มมีการหารือกันเป็นครั้งแรกในกรอบเอเปคอย่างไรก็ตามโดยที่เอเปคเป็นเวทีสำหรับการหารือในเรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจมิใช่ด้านการเมืองขอบเขตการหารือในเรื่องการต่อต้านการก่อการร้ายจึงมุ่งไปที่ผลกระทบของการก่อการร้ายต่อระบบเศรษฐกิจการค้าและการเดินทางของประชาชนตามปกติที่ประชุมยังได้หาทางเร่งรัดเพื่อไปสู่เป้าหมายโบกอร์ด้วยการให้ความเห็นชอบความตกลงเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Accord) และการปรับปรุงกระบวนการทบทวนแผนปฏิบัติการรายสมาชิก(Individual Action Plan Peer Review Process) อีกทั้งได้กำหนดให้สมาชิกเอเปคตั้งเป้าหมายลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรม (Transaction cost) ลงให้ได้ร้อยละ 5 ภายใน 5 ปี (จนถึงปี ค.ศ. 2006) นอกจากนี้ยังได้ผลักดันสมาชิกเอเปคใช้ประโยชน์จากโลกาภิวัตน์ด้วยการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านอิเล็กทรอนิกส์ของเอเปค (e-APEC Strategy) และการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของมนุษย์ (Human Capacity Building Strategy) อันเป็นผลมาจากการประชุมระดับสูงด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ (High-level Meeting on Human Capacity Building) ที่ได้เริ่มต้นไว้ตั้งแต่ปีก่อน

พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002)

             การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคครั้งที่ 10 ที่เมือง ลอส คาบอส (Los Cabos) เม็กซิโกยังคงให้ความสำคัญกับการดำเนินการเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายในเอเปคอย่างต่อเนื่องและจากเหตุการณ์  ก่อการร้ายที่ยังคงมีอยู่ในภูมิภาค (เหตุการณ์ก่อการร้ายที่เกาะบาหลี อินโดนีเซีย และที่กรุงมอสโกในช่วงก่อนการประชุมผู้นำฯ ในเดือนตุลาคม)ทำให้เอเปคมีการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย (Counter-Terrorism Action Plan) ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านการขนส่งสินค้า ด้วยการ     ดำเนินการตามข้อริเริ่มของสหรัฐฯเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยของการค้าในภูมิภาคเอเปค (Secure Trade in the APEC Region – STAR) การป้องกันการก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (Cybersecurity) การป้องกันการก่อการร้ายในด้านการขนส่ง โทรคมนาคมและการขจัดแหล่งเงินทุนที่อาจใช้ในการสนับสนุนแก่ผู้ก่อการร้ายในด้านการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุนยังคงเน้นการปฏิรูปโครงสร้างระบบเศรษฐกิจและการสร้างความโปร่งใสของระบบการเงินส่วนในด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและ   วิชาการยังคงเน้นการเสริมสร้างขีดความสามารถของสมาชิกเอเปคในการปรับตัวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่และการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมถึงการให้ความสำคัญกับวิสาหกิจขนาดจิ๋ว (Micro-enterprises)
หลักนโยบายด้านพลังงานที่ไม่ผูกพัน 14 ประการ
ในแผนปฏิบัติการด้านพลังงาน
ของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิค (เอเปค)
ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปคครั้งแรกณ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
เมื่อวันที่ 28-29 สิงหาคม พ.ศ. 2539
1.       การพิจารณาประเด็นทางด้านพลังงานจะต้องประสานสอดคล้องกับปัจจัยทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ความมั่นคงและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
2.       ดำเนินนโยบายเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการผลิต การจำหน่าย และการใช้พลังงาน
3.       ดำเนินนโยบายการเปิดตลาดทางด้านพลังงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางด้านการใช้พลังงานอย่างเหมาะสมความมั่นคงทางด้านพลังงาน และสิ่งแวดล้อมพร้อมทั้งเสนอแนะการดำเนินการใดที่เหมาะสมในกลุ่มเอเปค เพื่อขจัดปัญหาอุปสรรคต่างๆที่อาจมี
4.       ให้มีมาตรการรองรับเพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่างเหมาะสมโดยอาจเป็นการผสมผสานระหว่างนโยบายตลาดเสรี และตลาดควบคุมทั้งนี้ตามความเหมาะสมของแต่ละประเทศ
5.       พิจารณาลดการอุดหนุนต่างๆ ในสาขาพลังงานลงเป็นลำดับพร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการดำเนินการทางด้านราคาเพื่อให้สะท้อนถึงตันทุนทางเศรษฐกิจในการจัดหาและการใช้พลังงานอย่างครบวงจรโดยคำนึงถึงต้นทุนทางด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย
6.       แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันอย่างสม่ำเสมอในนโยบายพลังงานด้านต่างๆที่แต่ละประเทศได้ดำเนินการให้มีการใช้พลังงานอย่างเหมาะสมไปแล้ว
7.       ใช้หลักการต้นทุนต่ำสุด (least cost approach) ในการจัดหาบริการทางด้านพลังงาน
8.       ส่งเสริมให้มีการกำหนดนโยบายที่จะอำนวยความสะดวกในการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านพลังงานที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมได้ในเชิงพาณิชย์ และโดยไม่มีข้อกีดกันใดๆ
9.       สนับสนุนให้มีการพัฒนาฝีมือทรัพยากรมนุษย์ในด้านการประยุกต์ใช้และดำเนินการตามเทคโนโลยีที่ปรับปรุงแล้ว
10.    ยกระดับแผนงานด้านข้อมูลข่าวสารและการจัดการทางด้านพลังงานเพื่อช่วยให้การตัดสินใจในสาขาพลังงานเป็นไปอย่างเหมาะสม
11.    สนับสนุนการวิจัย การพัฒนา และการสาธิตทางด้านพลังงานเพพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้อย่างคุ้มทุนของเทคโนโลยีด้านพลังงานที่ใหม่มีประสิทธิภาพสูงกว่า และมีความเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม
12.    ส่งเสริมให้มีการไหลเวียนของเงินทุน โดยลดอุปสรรคต่างๆที่จะมีผลต่อการถ่ายทอดและการกำหนดให้ใช้เทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานทางด้านพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าและเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า
13.    ส่งเสริมมาตรการที่คุ้มทุน เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้สามารถลดก๊าซเรือนกระจกลงเพื่อสนองตอบการเรียกร้องของภูมิภาคที่ให้ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกลง
14.    ร่วมมือกันตามระดับความจำเป็นในการพัฒนาของแต่ละประเทศในการร่วมกันดำเนินโครงการเพื่อลดมลพิษก๊าซเรือนกระจกโดยสอดคล้องกับอนุสัญญาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (Climate Change Convention)
หมายเหตุ : หลักการนโยบายทั้ง 14 ประการนี้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบในการประชุมเมื่อ 26 กันยายน พ.ศ. 2539 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติต่อไป
การประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค ครั้งที่สอง
"พลังงาน:บริการพื้นฐานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน"
ณ เมืองเอ็ดมันตันประเทศแคนาดา
26-27 สิงหาคม 2540
การประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปคครั้งที่สองจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-27 สิงหาคมพ.ศ. 2540 ณ เมืองเอ็ดมันตัน มณฑลอัลเบอร์ต้า ประเทศแคนาดาโดยมีรัฐมนตรีและผู้แทนจากประเทศต่างๆ เข้าร่วมประชุม ได้แก่ ออสเตรเลียบรูไนดารูสซาลาม แคนาดา ชิลี สาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่นสาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ไต้หวัน ประเทศไทย และสหรัฐอเมริกา และมีผู้แทนจากสำนักงานเลขาธิการเอเปคสำนักงานเลขานุการคณะทำงานด้านพลังงานของเอเปค (EWG) และผู้สังเกตการณ์จากสภาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในแปซิฟิค (PECC) เข้าร่วมประชุมด้วย
รัฐมนตรีได้รับทราบผลงานความก้าวหน้าของคณะทำงานด้านพลังงานของเอเปคในการดำเนินงานตามประเด็นที่ได้รับความเห็นชอบไปแล้วในการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปคครั้งแรก ณ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลียเมื่อวันที่ 28-29 สิงหาคม พ.ศ. 2539 ทั้งนี้รัฐมนตรีได้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อให้สนองความต้องการพลังงานในอนาคตของภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิคอย่างสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางด้านสิ่งแวดล้อมและทางด้านสังคมของแต่ละประเทศต่อไป
รัฐมนตรีได้รับทราบว่าภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิคจะยังคงเป็นตัวผลักดันความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกและคาดว่าประชากรของภูมิภาคจะยังคงขยายตัวต่อไปสู่ศตวรรษหน้ารัฐมนตรียังรับทราบประมาณการความเจริญทางเศรษฐกิจในเอเปคว่าจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 3.3 ต่อปี จากปัจจุบันจนถึงปี พ.ศ. 2553 เปรียบเทียบกับอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปีของกลุ่มประเทศ OECD จากอัตราความเจริญเติบโตนี้เองคาดว่าการใช้พลังงานของกลุ่มเอเปคจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 2.2 ต่อปีจากปัจจุบันจนถึงปี พ.ศ. 2553 เปรียบเทียบกับอัตราร้อยละ 1.0 ต่อปี ของกลุ่มประเทศ OECD
รัฐมนตรีเห็นชอบร่วมกันว่า การพัฒนาทรัพยากรพลังงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมจะเป็นการพัฒนาภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิคอย่างยั่งยืนสืบต่อไปการพัฒนาอย่างยั่งยืนนี้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อสนองศักยภาพความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาค และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอันเนื่องมาจากการมีพลังงานที่สะอาดและสามารถหาซื้อมาใช้ได้รัฐมนตรียังเห็นชอบร่วมกันอีกว่า ความพยายามร่วมกันของภาครัฐทั้งหมดในภูมิภาคร่วมกับภาคเอกชนและชุมชนต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้เกิดการพัฒนาบริการพื้นฐานซึ่งมีประสิทธิภาพและเหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมต่อไป
การพิจารณาของรัฐมนตรีได้เน้นไปที่การดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ต้องดำเนินการร่วมกันคือ เพื่อตอบสนองความปรารถนาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคเพื่อเพิ่มพูนความมั่นคงทางด้านพลังงานและเพื่อแก้ไขผลกระทบของพลังงานต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กันทั้ง 3 ประการรัฐมนตรีจึงเห็นชอบให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
ก)การจัดหาและการใช้พลังงานจะเกิดประโยชน์สูงสุดทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพ และการเปิดกว้างของตลาดพลังงานในภูมิภาคนี้
ข) การพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคจะบรรลุผลสูงสุดด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการอนุรักษ์พลังงานพร้อมทั้งการพัฒนาแหล่งทรัพยากรพลังงานที่มีอยู่ของภูมิภาคโดยรวมถึงพลังงานหมุนเวียนอีกด้วย
ค) การอำนวยความสะดวกให้มีการลงทุนจากภาคธุรกิจในสาขาไฟฟ้าเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งเพื่อสนองความต้องการด้านพลังงานในภูมิภาคนี้ และ
ง) ความปรารถนาที่จะให้เศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคขยายตัวเพิ่มขึ้นตามเวลาที่ล่วงไปจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการพัฒนาบริการพื้นฐานด้านพลังงานและประยุกต์ใช้วิธีการทางด้านสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกัน โปร่งใส และคาดการณ์ได้
รัฐมนตรียังได้รับทราบความสำคัญของภาคเอกชน ที่ตั้งอยู่บนหลักเกณฑ์การลงทุนและระบบการค้าที่เปิดกว้าง โปร่งใส และคาดการณ์ได้จะเป็นกุญแจสำคัญเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของเงินทุนภาคเอกชนเข้าสู่สาขาพลังงานเพิ่มมากขึ้นรัฐมนตรีจึงได้มอบหมายให้คณะทำงานด้านพลังงานของเอเปคให้ดำเนินการตาม
มติการประชุมผู้นำเอเปคที่โอซากา (Osaka Action Agenda) ในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจังต่อไปลู่ทางที่สำคัญเพื่อการพัฒนาบริการพื้นฐานอย่างยั่งยืน

การประชุมนานาชาติภาคธุรกิจด้านพลังงาน

รัฐมนตรีได้ขอบคุณผู้เข้าร่วมการประชุมภาคธุรกิจด้านพลังงานที่ได้รายงานผลการริเริ่มของแต่ละประเทศในการอำนวยความสะดวกให้แก่การลงทุนในบริการพื้นฐานด้านพลังงานรวมทั้งการค้าสินค้าและบริการด้านพลังงานประเภทต่างๆ อีกด้วยรัฐมนตรียังได้รับทราบข้อเสนอแนะของผู้แทนเยาวชนซึ่งเกี่ยวกับโอกาสของเยาวชนในสาขาพลังงานในภูมิภาครัฐมนตรีมีมติให้ส่งรายงานทั้งสองนี้ให้แก่คณะทำงานด้านพลังงานของเอเปคเพื่อพิจารณาในรายละเอียดต่อไปรัฐมนตรีได้ขอบคุณผู้แทนภาคธุรกิจและผู้แทนเยาวชนซึ่งได้อุตสาหะดำเนินการมาและได้แสดงการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเช่นนี้อีกในอนาคต
รัฐมนตรีได้รับทราบการดำเนินการที่ทรงคุณค่ายิ่งซึ่งภาคธุรกิจกำลังดำเนินการให้เป็นกิจกรรมของคณะทำงานด้านพลังงานของเอเปคดังนั้นรัฐมนตรีจึงมอบหมายให้คณะทำงานด้านพลังงานของเอเปครับไปพิจารณากลไกที่เหมาะสมเพื่อปรับปรุงและคงไว้ซึ่งความเชื่อมโยงที่ดีระหว่างคณะทำงานและภาคธุรกิจและให้นำมารายงานให้แก่รัฐมนตรีทราบในการประชุมครั้งต่อไป

หลักการนโยบายด้านพลังงาน

รัฐมนตรีได้รับทราบความก้าวหน้าที่สำคัญในการปฏิบัติตามหลักการนโยบายด้านพลังงานซึ่งที่ประชุมรัฐมนตรีพลังงานครั้งแรกที่นครซิดนีย์ได้มีมติเห็นชอบไปแล้วและยังได้เสนอที่จะดำเนินการต่อไป เพื่อผนวกหลักการนโยบายด้านพลังงานนี้เข้าไว้เป็นแนวนโยบายของแต่ละประเทศสมาชิกรัฐมนตรีจึงได้ขอให้คณะทำงานด้านพลังงานของเอเปค ติดตามข้อมูลอย่างสม่ำเสมอถึงความก้าวหน้าในการผนวกหลักการนโยบายที่ไม่ผูกพันทั้ง 14 ประการนี้ไว้ในแนวนโยบายของประเทศสมาชิกอีกด้วย
รัฐมนตรีได้พิจารณาข้อเสนอริเริ่มของสหรัฐอเมริการวมทั้งข้อเสนอจากอินโดนีเซียและปาปัวนิวกินีในเรื่องก๊าซธรรมชาติและได้สั่งการให้คณะทำงานด้านพลังงานของเอเปคโดยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชนจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อเสนอต่อรัฐมนตรีพลังงานเอเปคในการประชุมที่โอกินาวาซึ่งเกี่ยวกับการเร่งรัดให้มีการลงทุนเพื่อจัดหาก๊าซธรรมชาติ บริการพื้นฐานต่างๆและระบบการค้าซึ่งจำเป็นสำหรับภูมิภาคเอเปครัฐมนตรียังได้ขอให้คณะทำงานด้านพลังงานของเอเปค รายงานถึงโอกาส ประเด็นและทางเลือกต่างๆ เพื่อให้เอเปคดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไปอีกด้วย
รัฐมนตรีได้รับทราบความสำคัญที่จะต้องเร่งรัดการดำเนินการที่เกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจกรัฐมนตรีได้รับทราบว่าประเด็นสำคัญเรื่องนี้ได้มีการพิจารณากันในการประชุม Third Conference of the Parties (COP-3) ภายใต้ United Nations Framework Convention on Climate Change (UN-FCCC) ณ เมืองเกียวโตรัฐมนตรีได้เห็นชอบถึงความสำคัญของการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและยืนยันว่าการเพิ่มประสิทธิภาพของพลังงานนับเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลกนอกจากนี้รัฐมนตรียังได้รับทราบความสำคัญของการพัฒนาโอกาสทางการตลาดที่จะเกี่ยวเนื่องกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอีกด้วย

บริการพื้นฐานด้านไฟฟ้า

เนื่องมาจากความเจริญทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น ความต้องการใช้ไฟฟ้าในภูมิภาคเอเปคจึงคาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 50-80 จากปัจจุบันจนถึงปี พ.ศ. 2553 และจะต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 1.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในการประชุมที่ซิดนีย์รัฐมนตรีพลังงานได้เห็นชอบร่วมกันว่าเงินลงทุนจำนวนนี้ไม่สามารถจะหาได้จากภาครัฐของกลุ่มประเทศเอเปคและองค์กรการเงินสากลเพียงฝ่ายเดียวดังนั้นการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคเอกชนจึงนับเป็นเรื่องสำคัญยิ่งรัฐมนตรีได้เน้นย้ำอีกว่า การปฏิรูปในสาขาไฟฟ้าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นในภูมิภาคและได้รับทราบถึงผลประโยชน์ที่สำคัญของการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจในการพัฒนาบริการพื้นฐานด้านไฟฟ้าเพื่อชักจูงเงินลงทุนจากภาคเอกชนรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้จัดทำกรอบโครงร่างทางด้านกฎระเบียบและด้านองค์กรที่โปร่งใสและคาดการณ์ได้รัฐมนตรียังได้ให้การรับรองหลักการที่ไม่ผูกพันตามที่ปรากฎในรายงาน "Manual of Best Practice Principles for Independent Power Producers" โดยที่หลักการเหล่านี้ได้ครอบคลุม ถึงเรื่องโครงสร้างสถาบันและกฎระเบียบต่างๆขบวนการ และหลักเกณฑ์ในการประเมินผลการประมูล/ประกวดราคา หนังสือสัญญารับซื้อไฟฟ้าและโครงสร้างภาษีที่เกี่ยวข้องรวมทั้งการเงินโครงการและนัยที่เกี่ยวเนื่องต่างๆรัฐมนตรีได้แสดงความขอบคุณการดำเนินงานของคณะทำงานด้านพลังงานของเอเปค ภาคธุรกิจและเจ้าหน้าที่ต่างๆ ในการจัดทำรายงานฉบับนี้ และได้สนับสนุนให้ประเทศสมาชิกพิจารณานำหลักการที่ไม่ผูกพันเหล่านี้ ไปปฏิบัติควบคู่ไปกับแนวนโยบายของตนด้วยรัฐมนตรียังได้รับทราบว่าหลักการเหล่านี้ เมื่อนำไปใช้จะทำให้ลดต้นทุนของภาคธุรกิจลง จะช่วยอำนวยความสะดวกการลงทุนของภาคเอกชนและสร้างเงื่อนไขเพื่อการจัดสรรเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อใช้ในสาขาบริการพื้นฐานด้านไฟฟ้า

บริการพื้นฐานที่เหมาะสมสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม

รัฐมนตรีได้พิจารณาทั้งลู่ทางด้านสิ่งแวดล้อมและโอกาสด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเกิดจากความเจริญทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของแต่ละประเทศ
รัฐมนตรีได้รับทราบว่าการขยายตัวอย่างรวดเร็วของบริการพื้นฐานด้านไฟฟ้าซึ่งจำเป็นยิ่งเพื่อสนองความคาดหวังด้านเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรงทั้งระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และระดับโลกรัฐมนตรีได้รับทราบต่อไปอีกว่าความท้าทายซึ่งเผชิญหน้าภูมิภาคอยู่ในขณะนี้คือการดึงดูดการลงทุนบริการพื้นฐานด้านไฟฟ้าและในขณะเดียวกันก็ต้องสร้างความเชื่อมั่นว่าบริการพื้นฐานเหล่านั้น จะเกิดมีขึ้นและดำเนินการอย่างคำนึงถึงสภาวะแวดล้อมอีกด้วย
รัฐมนตรีได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่าสิ่งใดจะเป็นตัวกำหนดลักษณะวิธีการปฏิบัติด้านนโยบายที่ดีเพื่อส่งเสริมการลงทุนบริการพื้นฐาน ที่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมรวมถึงหลักการที่กำหนดไว้ตามรายงานเรื่อง "Environmental Sound Infrastructure in APEC Electricity Sectors" ซึ่งดำเนินการโดยประเทศแคนาดาในนามคณะทำงานด้านพลังงานของเอเเปครัฐมนตรีได้พิจารณารายงานรวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆแล้วได้มอบหมายให้คณะทำงานด้านพลังงานของเอเปครับไปพิจารณาในรายละเอียดโดยร่วมกับภาคธุรกิจจัดทำแผนงานเพื่อดำเนินการตามข้อเสนอแนะนั้นๆ ต่อไปรัฐมนตรียังได้เห็นชอบให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านเทคโนโลยีที่เป็นปัจจุบันมีประสิทธิภาพและสะอาดซึ่งอาจช่วยประเทศสมาชิกให้บรรลุจุดมุ่งหมายทางด้านสิ่งแวดล้อมของตนได้
รัฐมนตรีได้พิจารณาและให้การรับรองหลักการที่ไม่ผูกพันเพื่อส่งเสริมการรวมเอาวิธีการปฏิบัติที่ดี ทางด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไว้ในการจัดทำโครงการด้านไฟฟ้าต่างๆ ต่อไป และเห็นชอบให้พิจารณารวมเข้าไว้ในแนวนโยบายของแต่ละประเทศตามที่เหมาะสมด้วยรัฐมนตรีเห็นชอบว่าหากประเทศสมาชิกจะดำเนินการตามวิธีปฏิบัติเหล่านี้จะเป็นการให้นโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อมที่โปร่งใส คาดการณ์ได้และสม่ำเสมอแก่ภาคเอกชนในการประยุกต์ใช้นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมต่อไปซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการลงทุนของภาคเอกชนในที่สุดนอกจากนี้รัฐมนตรียังได้รับทราบอีกด้วยว่าหลักการเหล่านี้สามารถนำไปประยุกต์เข้ากับการจัดองค์กรรูปแบบต่างๆในแต่ละประเทศสมาชิกได้ โดยจะมีผลต่อเนื่องไปถึงสาขาพลังงานด้านอื่นๆต่อไปอีกด้วย

การลดต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมและธุรกิจด้วยความร่วมมือทางด้านมาตรฐานพลังงาน

รัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นว่าการใช้มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานและการติดฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพพลังงานของผลิตภัณฑ์ต่างๆจะช่วยเสริมสร้างให้การใช้พลังงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นและช่วยปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นอีกด้วยรัฐมนตรีเห็นชอบให้ใช้ความระมัดระวังเพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องมือเหล่านี้จะไม่เป็นอุปสรรคต่อการค้าขึ้นได้รัฐมนตรียังได้พิจารณาเห็นว่าการจัดทำมาตรฐานการทดสอบการใช้พลังงานแบบร่วมกันหรือแบบเปรียบเทียบและการจัดทำกรอบหลักร่วมกันเพื่อให้การรับรองผลการทดสอบจากห้องทดลองจะช่วยเสริมสร้างการค้าผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้พลังงานและจะช่วยลดต้นทุนของธุรกิจลงได้อีกด้วย
รัฐมนตรีเห็นชอบให้ดำเนินการเชิงพหุภาคีเพื่อให้สมาชิกเอเปคทุกประเทศรับรองผลการวิเคราะห์จากสถาบันที่ได้รับการรับรองเพื่อทดสอบประสิทธิภาพการใช้พลังงานได้นอกจากนี้ยังได้เห็นชอบที่จะพิจารณาในโอกาสแรก เมื่อมีแผนงานใหม่ที่จำเป็นต้องใช้ขบวนการทดสอบประสิทธิภาพการใช้พลังงานขึ้นโดยให้ใช้มาตรฐานการทดสอบที่มีอยู่แล้วได้ทันทีในกรณีที่จะต้องรับรองมาตรฐานใหม่ภายในประเทศสมาชิกซึ่งแตกต่างไปจากมาตรฐานที่มีใช้อยู่แล้วรัฐมนตรีเห็นชอบให้แจ้งให้ประเทศสมาชิกอื่นทราบและเผยแพร่มาตรฐานนั้นๆ ให้ทราบรัฐมนตรีได้ขอให้คณะทำงานด้านพลังงานของเอเปคจัดทำข้อเสนอเพื่อพิจารณาในรายละเอียดในการประชุมครั้งต่อไปที่โอกินาวาด้วย
รัฐมนตรีได้รับทราบว่าคณะทำงานด้านพลังงานของเอเปคได้จัดทำแผนงานเพื่อกำหนดพื้นฐานสำหรับสร้างความร่วมมือด้านมาตรฐานพลังงานให้มากยิ่งขึ้นตามที่ได้รับมอบหมายจากการประชุมรัฐมนตรีพลังงานครั้งแรก ได้แก่
ก) หารายละเอียดการใช้ประโยชน์จากองค์กรความร่วมมือเพื่อให้การรับรองห้องทดลองในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิค (Asia Pacific Laboratory Accreditation Cooperation) และองค์กรนานาชาติอื่นที่คล้ายคลึงกัน เพื่อเป็นกลไกส่งทอดที่เป็นไปได้สำหรับกรอบการให้ความรับรองร่วมกันในภูมิภาค
ข) พิจารณาตัดสินระดับการสอบเทียบของขบวนการทดสอบประสิทธิภาพการใช้พลังงานเท่าที่มีใช้อยู่ในภูมิภาคเอเปคและจัดทำขั้นตอนเพื่อให้เกิดฉันทานุมัติในหมู่สมาชิกเอเปคทั้งนี้เพื่อลดข้อแตกต่างที่อาจมีอยู่
ค) จำแนกกลไกเพื่อพัฒนา สื่อสาร และสนับสนุนความประสงค์ของเอเปคที่จะให้มีวิธีการทดสอบประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ไปยังองค์กรกำหนดมาตรฐานสากลเพื่อให้มาตรฐานสากลนั้นๆสะท้อนถึงความต้องการโดยเฉพาะจากประเทศสมาชิกเอเปคด้วย

 

โครงการอาหาร พลังงาน สิ่งแวดล้อมความเจริญทางเศรษฐกิจและประชากร (FEEEP)

รัฐมนตรีได้พิจารณาผลที่เกิดจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและจำนวนประชากรที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเพื่อจะสนองตอบความต้องการใช้พลังงานในภูมิภาคให้ได้โดยคำนึงถึงข้อห่วงใยจากการประชุมผู้นำเอเปคที่โอซากาเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ที่ว่าภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิคจะมีการขยายตัวของประชากรและความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วคาดว่าจะทำให้ความต้องการอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและยังจะมีผลกดดันต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
รัฐมนตรีได้ยกผลงานเด่นๆของคณะทำงานในการอำนวยความสะดวกการพัฒนาบริการพื้นฐานด้านไฟฟ้าการบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตและการใช้พลังงานการปรับปรุงความมั่นคงด้านพลังงานและโดยเฉพาะจากการจัดทำประมาณการพลังงานสมบูรณ์แบบโดยศูนย์วิจัยพลังงานเอเซียแปซิฟิคซึ่งได้ใช้ผนวกรวมเป็นประเด็นของเอเปคที่ริเริ่มโครงการ FEEEP นี้ขึ้นมา
รัฐมนตรียังได้เน้นถึงความสำคัญของการพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืนต่อการกินดีอยู่ดีและความเจริญรุ่งเรืองในระยะยาวของภูมิภาคและเห็นชอบว่าคณะทำงานด้านพลังงานของเอเปคได้ดำเนินการอย่างรุดหน้าเพื่อสนองตอบความห่วงใยของผู้นำเอเปครัฐมนตรีได้ขอบคุณประเทศแคนาดาที่ได้จัดการประชุม FEEEP นี้ขึ้นเพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นสำคัญต่างๆ เหล่านี้ตลอดถึงผลที่อาจจะเกิดขึ้นอีกด้วยและได้รับทราบการนำเสนอของคณะทำงานด้านพลังงานของเอเปค ต่อการประชุมนั้นอีกด้วย

กิจกรรมต่างๆ ของคณะทำงานด้านพลังงาน

รัฐมนตรีได้เห็นชอบว่าการคงให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยี นับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้สาขาพลังงานมีส่วนให้ความเป็นอยู่ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคได้รับประโยชน์สูงสุดสำหรับในระยะยาววัตถุประสงค์หลัก ได้แก่การสร้างความมั่นใจว่าพลังงานจะไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเจริญเติบโตและความรุ่งเรืองอย่างยั่งยืนของภูมิภาคในเรื่องนี้รัฐมนตรีได้รับทราบความก้าวหน้า ของคณะทำงานด้านพลังงานในการสนับสนุนให้มีการเจรจาและความร่วมมือด้านพลังงานภายในภูมิภาคและเห็นชอบว่าความร่วมมือในภูมิภาคนี้นับเป็นกุญแจสำคัญเพื่อให้เกิดความเข้าใจและสนองความท้าทายที่เผชิญหน้าภูมิภาคอยู่ในขณะนี้รัฐมนตรีได้รับทราบข้อเสนอของประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีเพื่อจัดทำแนวทางในเรื่องประสิทธิภาพการใช้พลังงานและได้มอบหมายให้คณะทำงานด้านพลังงานของเอเปครับไปพิจารณาแนวคิดนี้เพื่อจัดทำเป็นแผนงานเต็มรูปต่อไปจากผลงานของคณะทำงานด้านพลังงานของเอเปครัฐมนตรีคาดว่าจะสามารถพิจารณาความเป็นไปได้ของระบบ "เสนอให้ และทบทวน (pledge and review)" เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างสมัครใจในการประชุมรัฐมนตรีพลังงานครั้งต่อไปรัฐมนตรียังได้ให้การรับรอง ความพยายามของคณะทำงานด้านพลังงานของเอเปคในการสนับสนุนการใช้พลังงานใหม่และพลังงานหมุนเวียนอย่างประหยัดการส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างสะอาดและเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่องและการดำเนินการอย่างแข็งขันให้มีตลาดพลังงานแบบเปิดและมีประสิทธิภาพในภูมิภาคเอเปคต่อไปรัฐมนตรียังได้รับทราบอีกด้วยว่าการตอบสนองความต้องการแร่ธาตุต่างๆในภูมิภาคนับเป็นสิ่งสำคัญเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้มีความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและสังคมยิ่งๆขึ้นไปรัฐมนตรีได้รับทราบความก้าวหน้าของคณะทำงานด้านพลังงานในการพัฒนาและสร้างความร่วมมือซึ่งมุ่งที่จะเพิ่มความโปร่งใส และมีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของภูมิภาคยิ่งขึ้นรัฐมนตรีได้มอบหมายให้คณะทำงานด้านพลังงานคงดำเนินการด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการในภูมิภาคนี้ต่อไปพร้อมทั้งส่งเสริมอย่างจริงจังให้มีความร่วมมือพหุภาคีในภูมิภาคโดยมุ่งไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

ศูนย์วิจัยพลังงานเอเซียแปซิฟิค (APERC)

รัฐมนตรีได้รับฟังความก้าวหน้าในการดำเนินการของศูนย์วิจัยพลังงานเอเซียแปซิฟิค (APERC) ซึ่งได้เริ่มจัดตั้งขึ้นจากการประชุมรัฐมนตรีพลังงานครั้งแรกที่นครซิดนีย์ในการจัดทำประมาณการภาพรวมพลังงานของภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิคโดยกำหนดจะแล้วเสร็จปลายปี พ.ศ. 2540รัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญต่องานที่กำลังดำเนินการอยู่ของศูนย์ ฯและได้เห็นชอบว่าในการประชุมรัฐมนตรีพลังงานครั้งต่อไปจะได้มีโอกาสพิจารณาประมาณการผลิตและการใช้พลังงานรวมทั้งโครงการวิจัยอื่นๆ ของ APERC ด้วย

 การประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปคครั้งที่ 2

ท่านนายกรัฐมนตรีได้อนุมัติให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสมพงษ์อมรวิวัฒน์) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์) เป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่อาวุโสพลังงานของไทยนำผู้แทนส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องเดินทางไปร่วมการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค ครั้งที่สองซึ่งประเทศแคนาดาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมขึ้น ณ เมืองเอดมันตัน มณฑลอัลเบอร์ต้าประเทศแคนาดา ระหว่างวันที่ 26-27 สิงหาคม 2540 โดยได้มีการประชุมคณะเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านพลังงานเอเปค ในวันที่ 25 สิงหาคม 2540 เพื่อเตรียมการก่อนการประชุมระดับรัฐมนตรี

สาระสำคัญของการประชุม

สาระสำคัญของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค สรุปได้ดังต่อไปนี้
1.       ที่ประชุมซึ่งมีรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติแคนาดาเป็นประธานได้เห็นชอบร่วมกันตามแนวทางที่ได้เห็นชอบไว้ในการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปคครั้งแรก คือการพัฒนาสาขาพลังงานในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิคจะต้องเป็นไปโดยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางด้านสิ่งแวดล้อม และทางด้านสังคมเพื่อการพัฒนาภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิคอย่างยั่งยืนต่อไป
2.       ที่ประชุมได้รับทราบผลการประชุมกลุ่มธุรกิจด้านพลังงาน (Energy Business Forum) ซึ่งจัดขึ้นควบคู่ในโอกาสเดียวกันนี้ทั้งนี้ที่ประชุมได้สนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนในการแปรรูปกิจการรัฐวิสาหกิจและการเปิดการค้าเสรีสาขาพลังงานด้วยการสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนในรูปผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (Independent Power Producers - IPP) และผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อย (Small Power Producers - SPP)
3.       ที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินการตามแนวหลักการนโยบายที่ไม่ผูกพัน 14 ประการ (14 Non-Binding Policy Principles) ซึ่งรัฐมนตรีพลังงานเอเปคในการประชุมครั้งแรกที่นครซิดนีย์ได้เห็นชอบให้ทุกประเทศถือเป็นแนวทางการดำเนินการด้านพลังงานทั้งนี้ที่ประชุมได้มีมติให้ทุกประเทศยังคงยึดถือแนวนโยบายนี้เป็นหลักในการพัฒนาสาขาพลังงานของตนต่อไป
4.       ที่ประชุมได้เห็นชอบตามหลักการการปฏิบัติที่ดีที่สุดในการสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนในการผลิตไฟฟ้า (Best Practice Principles for Independent Power Producers)
5.       ที่ประชุมเห็นชอบกับแนวทางการพัฒนาบริการพื้นฐานซึ่งเหมาะสมสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมโดยมีมติให้ทุกประเทศยึดถือปฏิบัติตามหลักสิ่งแวดล้อมที่ดีในการพัฒนาโครงการด้านไฟฟ้า และให้ผนวกเข้าไว้เป็นแนวทางการปฏิบัติของแต่ละประเทศ
6.       ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามข้อเสนอให้จัดทำความร่วมมือทางด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์พลังงาน และได้มีมติเห็นชอบให้มีความตกลงพหุภาคีเรื่องมาตรฐานผลิตภัณฑ์พลังงานต่างๆโดยให้ยอมรับผลการทดสอบจากสถาบันทดสอบที่ได้ผ่านการรับรองแล้ว

ท่าทีของฝ่ายไทยและสิ่งที่ไทยจะดำเนินการต่อไป

ตามแนวหลักการนโยบายด้านพลังงานของเอเปคซึ่งเป็นเนื้อหาหลักของการประชุมครั้งนี้ประเทศไทยมีความเห็นสนับสนุนการดำเนินงานของเอเปค อย่างเต็มที่ไม่ว่าจะเป็นการเปิดตลาดเสรีด้านพลังงาน การแปรรูปรัฐวิสาหกิจและการสนับสนุนให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้าอาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศแนวหน้าประเทศหนึ่งในทั้งเอเปคและอาเซียนที่สนับสนุนและดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจังมาโดยตลอด
ประเทศไทยได้ดำเนินการเปิดเสรีตลาดพลังงานของไทย มาเป็นลำดับจนสามารถกล่าวได้ว่าในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ตลาดพลังงานของไทยจะเปิดเสรีเต็มที่โดยที่เป็นความสมัครใจของไทยเองที่จะดำเนินการทั้งนี้ตามกำหนดระยะเวลาที่เอเปคกำหนดให้ประเทศสมาชิกทุกประเทศต้องดำเนินการ คือประเทศพัฒนาแล้วต้องเปิดตลาดเสรีด้านพลังงานในปี ค.ศ. 2010 และประเทศกำลังพัฒนาต้องเปิดตลาดเสรีในปี ค.ศ. 2020

การประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ และการประชุมทวิภาคี

อนึ่ง คณะผู้แทนไทยได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ก่อนการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปคและการประชุมทวิภาคีกับสาธารณรัฐประชาชนจีน และรัฐบาลมณฑลอัลเบอร์ต้า ประเทศแคนาดาสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1.       การประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการก่อนการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปคเพื่อกำหนดท่าทีของกลุ่มอาเซียนในการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปคให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันมีรัฐมนตรีพลังงานจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย เข้าร่วมประชุมโดยรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน 3 ประเทศ (ยกเว้นไทย)มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเร่งเปิดเสรีการค้าด้านพลังงานของเอเปคให้เร็วกว่ากำหนดโดยทั้ง 3 ประเทศประสงค์ จะให้กลุ่มอาเซียนสนับสนุนการค้าเสรีของกลุ่มเอเปคตามกำหนดระยะเวลาซึ่งกลุ่มเอเปคได้เห็นชอบกันแต่เดิม คือสำหรับประเทศกำลังพัฒนากำหนด ให้เปิดเสรีตลาดพลังงานในปี ค.ศ. 2020
2.       การประชุมทวิภาคีกับสาธารณรัฐประชาชนจีนฝ่ายไทยได้ขอบคุณสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินโดยผ่านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และได้ขอร้องให้ทางฝ่ายจีนจัดทำ Statement of Confidence จากผู้นำจีน ทั้งนี้เพื่อแสดงให้ทั่วโลกเห็นว่าฝ่ายจีนยังมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของไทย รวมทั้งแสดงถึงความเป็นมิตรที่ดีต่อกันซึ่งในเรื่องนี้ฝ่ายจีนได้แจ้งว่ายินดีที่จะดำเนินการให้ต่อไป นอกจากนี้ยังได้มีการหารือถึงความร่วมมือด้านการพัฒนาถ่านหิน ในสาธารณรัฐประชาชนจีนร่วมกันรวมทั้งการศึกษาโครงการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำจิ่งหง หรือเชียงรุ้ง ในมณฑลยูนนานและขายไฟฟ้าให้แก่ไทยโดยฝ่ายไทยจะส่งผู้แทนไปพบกับฝ่ายจีนเพื่อดำเนินการในรายละเอียดต่อไป
3.       การประชุมทวิภาคีกับรัฐบาลมณฑลอัลเบอร์ต้ารัฐมนตรีพลังงานของไทยได้เข้าเยี่ยมคารวะ นายกรัฐมนตรีมณฑลอัลเบอร์ต้าและได้มีการหารือด้านความร่วมมือทางด้านการพัฒนาหินน้ำมัน (Oil shale) ในประเทศไทยโดยฝ่ายรัฐบาลอัลเบอร์ต้ายินดีที่จะให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและเทคโนโลยีการพัฒนาหินน้ำมันแก่ไทย






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น