search box

Loading

วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กาญจนบุรีโอบล้อมด้วยขุนเขา

อุทยานแห่งชาติไทรโยค

                                       01.jpg (14492 bytes)
    อุทยานแห่งชาติไทรโยค
มีเนื้อที่ 598,750 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2523 สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูน ประกอบด้วยพื้นที่ป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง ไทรโยคได้ชื่อว่าเป็นพื้นที่แห่งเดียวในประเทศไทยที่มีค้างคาวที่เล็กที่สุดในโลกคือ ค้างคาวกิตติ และ ปูราชินี ปูน้ำจืดชนิดใหม่ของโลกอาศัยอยู่ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทรโยคเคยเป็นค่ายพักแรมของทหารญี่ปุ่น ปัจจุบันปรากฎร่องรอยเตาหุงข้าวและซากเตาไฟอยู่ในพื้นที่ นอกจากนี้ยังพบร่องรอยมนุษย์ยุคหินเก่า มี
แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ คือ

น้ำตกไทรโยคใหญ่ หรือ เรียกอีกชื่อว่า น้ำตกเขาโจน ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติไทรโยค เนื่องจากเป็นน้ำตกที่ไหลตกลงจากหน้าผาลงสู่แม่น้ำแควน้อยราวกับกระโจนลงมา น้ำตกไทรโยคใหญ่จะมีน้ำตลอดปี และน้ำจะแรงมากในฤดูฝน และในอดีตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 ) เคยเสด็จประพาส ณ น้ำตกแห่งนี้ ภายในอุทยานฯ มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติหลายเส้นทาง และมีจุดชมวิวสะพานแขวนไทรโยคที่จะเห็นน้ำตกไทรโยคได้ชัดเจน อัตราค่าเข้าชมอุทยานฯ ชาวไทย ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท บริเวณอุทยานฯ มีบริการร้านอาหาร แพพัก แพล่อง เรือเช่า บ้านพัก ค่ายพักแรมและสถานที่กางเต็นท์ สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เขตบางเขน โทร. 0 2562 0760 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-18.00 น. วันเสาร์ เวลา 09.00-15.30น. หรือ www.dnp.go.th
การเดินทาง ห่างจากตัวเมืองกาญจน์ 104 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 323 (กาญจนบุรี-ไทรโยค-ทองผาภูมิ) บริเวณกิโลเมตรที่ 82



น้ำตกไทรโยคน้อย(เขาพัง)

                                           wpe22.jpg (7434 bytes)
    น้ำตกไทรโยคน้อย(เขาพัง)
อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติไทรโยค ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 323 (ถนนสายกาญจนบุรี-ไทรโยค-ทองผาภูมิ) กิโลเมตรที่ 46 เป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี บริเวณน้ำตกมีสภาพธรรมชาติที่สวยงามร่มรื่น โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนประมาณเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคมจะมีน้ำมาก ในอดีตเมื่อ พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เสด็จประพาสบริเวณน้ำตกไทรโยค นอกจากนี้บริเวณน้ำตกไทรโยคน้อยยังได้มีการนำหัวรถจักรไอน้ำสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มาตั้งไว้เพื่อรำลึกถึงการสร้างทางรถไฟสายมรณะที่สร้างผ่านบริเวณหน้าน้ำตกเข้าสู่ประเทศพม่า การรถไฟแห่งประเทศไทยได้จัดขบวนรถไฟสายน้ำตก พานักท่องเที่ยวไปชมน้ำตกแห่งนี้ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2223 7010, 0 2223 7020 หรือ 1690 หรือที่เว็บไซต์ www.railway.co.th นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารประจำทางจากสถานีขนส่งอำเภอเมืองผ่านน้ำตกไทรโยคน้อย ซึ่งออกทุก 30 นาที ตั้งแต่เวลา 06.00 - 18.30 น.


ถ้ำละว้า

                   wpe20.jpg (13914 bytes)
    ถ้ำละว้า
เป็นถ้ำที่มีความสวยงามมากแห่งหนึ่ง อยู่บนฝั่งแม่น้ำแควน้อย คนละด้านกับทางรถยนต์ ห่างจากริมน้ำขึ้นไปบนเขา 50 เมตร บริเวณปากถ้ำไม่กว้างนัก แต่ภายในถ้ำกว้างขวางใหญ่โตมาก แบ่งเป็นห้องต่างๆ เช่น ห้องท้องพระโรง ห้องดนตรี ห้องม่าน แต่ละห้องมีความงดงามของหินย้อยแตกต่างกันออกไป    น้ำตกไทรโยค หรืออีกชื่อหนึ่งว่า "น้ำตกเขาโจน" เพราะน้ำที่ตกลงมาจากหน้าผาสู่แม่น้ำแควน้อยแรงมากราวกับกระโจนลงมา น้ำตกไทรโยคจะมีน้ำตลอดปี แต่น้ำจะแรงมากในฤดูฝน สามารถเดินทางเข้าถึงโดยทางรถยนต์ น้ำตกไทรโยค ตั้งอยู่ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติไทรโยค

ถ้ำดาวดึงส์

                          wpe1F.jpg (8603 bytes)
    ถ้ำดาวดึงส์
ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแควน้อยคนละด้านกับทางรถยนต์ ห่างจากริมฝั่งน้ำขึ้นไปบนเขาประมาณ 1 กิโลเมตร ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยรูปร่างวิจิตรพิสดารเหมือนโคมระย้าบ้าง เหมือนพระปรางค์บ้าง เหมือนเจดีย์และชายสไบบ้างภายในถ้ำอากาศโปร่งแต่มืดสนิทต้องมีตะเกียงและคนนำทาง    ในการเที่ยวชมถ้ำละว้า น้ำตกไทรโยค และถ้ำดาวดึงส์ ควรจัดเป็นรายการเดียวกัน โดยเมื่อถึงกาญจนบุรีแล้วให้ใช้เส้นทางสายกาญจนบุรี-ไทรโยค-ทองผาภูมิ (ทางหลวงหมายเลข 323) ไปยังท่าเสา ตรงกิโลเมตรที่ 44-45 เยื้องกับสถานีน้ำตกแล้วแยกซ้ายเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร ถึงท่าเรือปากแซงแล้วนั่งเรือหางยาวทวนน้ำขึ้นไปประมาณ 1 ชั่วโมง จะถึงปากถ้ำ จากถ้ำละว้านั่งเรือไปอีก 1 ชั่วโมง จะถึงน้ำตกไทรโยค ซึ่งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำ และจากน้ำตกไทรโยคนั่งเรือไปอีก 1 ชั่วโมง จะถึงน้ำตกไทรโยค ซึ่งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำ และจากน้ำตกไทรโยคนั่งเรือไปอีก 25 นาที จะถึงท่าเรือขึ้นถ้ำดาวดึงส์ ซึ่งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำแล้วเดินขึ้นเขาไปอีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร จะถึงถ้ำดาวดึงส์
    ถ้าไม่ประสงค์ที่จะลงเรือที่ปากแซงก็สามารถขับรถต่อไปจนถึงกิโลเมตรที่ 55-56 แยกซ้ายเข้าโรงแรมหมู่บ้านแม่น้ำแคว แล้วเช่าเรือจากที่นี่ ซึ่งจะย่นระยะเวลาได้ ประมาณ 40 นาที ส่วนการเดินทางโดยใช้รถประจำทางนั้นใช้รถสายกาญจนบุรี-ไทรโยค ไปลงที่สถานีน้ำตก แล้วนั่งรถสองแถวเข้าไปยังท่าน้ำแล้วนั่งเรือต่อไปได้
    บริเวณที่ทำการอุทยานฯ มีบริการร้านอาหารและบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว รายละเอียดติดต่อกองอุทยานแห่ชาติ โทร. 02-579-7223, 502-79-5734



   
ถ้ำสวรรค์วังบาดาล (ถ้ำวังบาดาล) หรือเรียกว่า "ถ้ำสวรรค์วังบาดาล) อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเอราวัณ ตั้งอยู่ตำบลท่าเสา ห่างจากตัวเมืองประมาณ 63 กิโลเมตร อยู่ด้านหลังน้ำตกไทรโยคน้อย มีป้ายบอกทางเข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร จะพบหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานฯสามารถชมต้นน้ำตกไทรโยค การไปชมถ้ำต้องเดินเข้าไปอีกประมาณ 1,500 เมตร ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ตลอดเส้นทางมีป้ายให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพธรรมชาติ ถ้ำวังบาดาลมีความยาว 500 เมตร เป็นถ้ำขนาดเล็กแต่ลึกมาก ปากถ้ำเป็นช่องเล็กๆ แต่เข้าไปได้ทีละคน ลักษณะเป็นเป็นถ้ำหินปูน 2 ชั้น โดยชั้นบนจะมีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม แบ่งเป็นห้องหลายห้อง เช่น ห้องม่านพระจันทร์ มีหินงอกหินย้อยลงมาคล้ายกับม่าน ห้องเข็มนารายณ์ มีลักษณะคล้ายเข็มแท่งใหญ่ย้อยลงมาสวยงามมาก ห้องเข็มนารายณ์ มีลักษณะคล้ายเข็มแท่งใหญ่ย้อยลงมาสวยงามมาก ส่วนชั้นล่างมีธารน้ำไหลผ่าน ลักษณะเหมือนอุโมงค์น้ำใต้หินขนาดใหญ่



   
ถ้ำไทรทอง
หรือถ้ำตาหม่อง ตั้งอยู่ที่บ้านไทรทอง ตำบลลุ่มสุ่ม ห่างจากตัวอำเภอไทรโยค ประมาณ 8 กิโลเมตร ไปตามถนนสายวังโพธิ์-บ้านท้ายเหมือง แล้วแยกเข้าเส้นทางสายบ้านพุน้อย-แก่งระเบิด ถึงบริเวณเชิงเขา ต่อจากนั้นต้องเดินเท้าขึ้นไปยังปากถ้ำ ถ้ำไทรทองมีความกว้างของปากถ้ำ 20 เมตร ความยาวตลอดถ้ำประมาณ 100 เมตร มีอากาศถ่ายเทตอนปลายถ้ำมีช่องเปิดสู่ด้านบน ของภูเขา มีหินงอกหินย้อยสวยงาม    ช่องเขาขาด เป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายมรณะ การเดินทางไปชม ใช้เส้นทางสายไทรโยค-ทองผาภูมิ ถึงกิโลเมตรที่ 66 บริเวณที่ทำการของ กรป. กลาง มีทางแยกซ้ายไปช่องเขาขาดอีก 500 เมตร ช่องเขาขาดเป็นภูเขาที่ ถูกตัดเป็นช่องเพื่อสำหรับ สร้างทางรถไฟในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันยังมีร่องรอยของทางรถไฟปรากฏอยู่


ช่องเขาขาด

                                wpe21.jpg (8180 bytes)
    ช่องเขาขาด
เป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายมรณะที่เฉลยศึกในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ตัดเจาะภูเขาหินให้เป็นช่อง
ทางรถไฟผ่านได้ ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 66 ในพื้นที่ของ กรป.กลาง อำเภอไทรโย

    ช่องเขาขาดพิพิธภัณฑ์สถานแห่งความทรงจำ
เป็นสถานที่จัดแสดงมินิเธียเตอร์และรวบรวมข้อมูลถ่ายภาพ ข้าวของเครื่องใช้ระหว่างทางรถไฟในสมัย
สงครามโลกครั้งที่สอง พิพิธพัณฑ์นี้จัดไว้อย่างสวยงาม


    ถ้ำกระแซะ
ห่างจากตัวเมืองประมาณ 55 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 323 กิโลเมตรที่ 29–30 ถ้ำนี้เป็นถ้ำที่เคยเป็นที่พักของเชลยศึกเมื่อครั้งสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะจากไทยไปพม่า ตัวถ้ำติดกับเส้นทางรถไฟสายกาญจนบุรี–น้ำตก วึ่งเป็นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันสิ้นสุดที่สถานีรถไฟน้ำตก ภายในถ้ำโปร่งและมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานอยู่ มองจากปากถ้ำมาที่บริเวณทางรถไฟจะเห็นทิวทัศน์ที่งดงามและมองเห็นแม่น้ำแควน้อยอยู่เบื้องล่าง บริเวณนี้เป็นจุดที่สร้างทางรถไฟยากที่สุด เนื่องจากเส้นทางโค้งเลียบเขา เบื้องล่างเป็นแม่น้ำแควน้อย
ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.kanchanaburi.com/tr-saiyok.shtml

สภาพภูมิศาสตร์ของไทย

ลักษณะภูมิประเทศ
            ลักษณะภูมิประเทศของไทย แบ่งออกได้เป็น ๔ ลักษณะคือ

    พื้นที่ราบอันกว้างใหญ่ภาคกลาง  แบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือที่ราบดินตะกอน  และที่ราบซึ่งเกือบไม่มีดินตะกอนเลย
         ที่ราบใหญ่ภาคกลาง  มีขนาดกว้าง ประมาณ ๕๐ - ๑๕๐ กิโลเมตร  ยาวประมาณ ๓๐๐ กิโลเมตร แบ่งออกได้เป็น ๕ ตอนด้วยกันคือ
            ตอนบน  เป็นพื้นที่ราบ ซึ่งมีลักษณะเป็นลุ่มแอ่งน้อย ๆ ตั้งอยู่ในระหว่างย่านภูเขาทางเหนือ มีทิวเขาถนนธงชัยอยู่ทางด้านทิศตะวันตก และทิวเขาเพชรบูรณ์อยู่ทางด้านทิศตะวันออก  พื้นที่ตอนกลางระหว่างทิวเขาทั้งสองเป็นที่ลุ่ม มีระดับสูงประมาณ ๓ - ๔ เมตร จากระดับน้ำทะเล  แต่ทางตอนใต้บริเวณ จังหวัดชัยนาท เป็นที่ค่อนข้างดอน มีความสูงประมาณ ๑๘ เมตร จากระดับน้ำทะเล
            ตอนล่าง  เป็นพื้นที่ราบ ซึ่งมีความลาดจาก จังหวัดชัยนาทลงไปทางใต้ ลงสู่ทะเลที่อ่าวไทยพื้นที่ต่ำสุดอยู่ตอนกลาง ซึ่งเป็นรางของลำน้ำ พื้นที่ทางด้านทิศตะวันออก และทิศตะวันตก จะมีความลาดลงมาน้อย ๆ จากแนวทิวเขา มีระดับสูง ๑๘ เมตร ที่ชัยนาท ๔ เมตรที่อยุธยา และ ๑.๘ เมตรที่กรุงเทพ ฯ
         ที่ราบลุ่มแม่น้ำป่าสัก  เป็นที่ราบแคบ ๆ ในภาคกลาง คั่นอยู่ระหว่างที่ราบใหญ่ภาคกลาง กับที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  เป็นที่ราบแคบ ๆ และยาวอยู่ระหว่างหุบเขาของทิวเขาเพชรบูรณ์ กับทิวเขาเลย
         ที่ราบภาคตะวันออก  เป็นที่ราบซึ่งคั่นระหว่างภาคกลางของไทยกับประเทศเขมร แบ่งออกได้เป็น ๒ ส่วนคือ
            ตอนบน  คือที่ราบปราจีนบุรี เป็นที่ราบลุ่มน้ำบางปะกง มีลักษณะเป็นชานของที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จึงค่อนข้างจะเป็นที่ดอนเล็กน้อย  อยู่ระหว่างทิวเขาสันกำแพง ทิวเขาพนมดงรัก กับทิวเขาบรรทัด  ตอนแคบที่สุดกว้างประมาณ ๓๐ กิโลเมตร ที่ช่องวัฒนา
            ตอนล่าง  เป็นที่ราบชายฝั่งทะเลตะวันออก เป็นที่ราบแคบ ๆ อยู่ระหว่างทิวเขาบรรทัดกับฝั่งทะเล  เป็นที่ราบที่ลาดลงสู่ฝั่งทะเล ในเขตสี่จังหวัด คือ ชลบุรี จันทบุรี ระยอง และตราด
         ที่ราบลุ่มน้ำแม่กลอง และแม่น้ำเพชรบุรี  เป็นที่ราบทางตะวันตกเฉียงใต้ของภาคกลาง  ทางด้านทิศตะวันตกมีภูเขาตะนาวศรี ทางด้านทิศตะวันออก ตอนจังหวัดนครปฐมถึงอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเนินกับระหว่างที่ราบใหญ่ภาคกลางกับที่ราบลุ่มแม่กลอง

    ที่ราบในย่านภูเขาภาคเหนือ  ประกอบด้วยที่ราบหลายผืน  เป็นที่ราบระหว่างทิวเขา ทำให้มีพื้นที่ไม่ติดต่อถึงกัน ที่สำคัญได้แก่
            ที่ราบเชียงใหม่  มีความสูงประมาณ ๓๐๐ เมตร
            ที่ราบเชียงราย  มีความสูงประมาณ ๔๐๐ เมตร
            ที่ราบแพร่  มีความสูงประมาณ ๒๐๐ เมตร
            ที่ราบน่าน  มีความสูงประมาณ ๒๐๐ เมตร

    ที่ราบสูงตะวันออกเฉียงเหนือ  มีความสูง ประมาณ ๒๐๐ - ๓๐๐ เมตร อยู่ในวงล้อมของทิวเขาเป็นที่ราบอันกว้างใหญ่อีกผืนหนึ่ง  มีพื้นที่ประมาณ ๑๕๔,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร  แบ่งออกได้เป็นสองตอนคือ
            ตอนบน  ได้แก่พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
            ตอนล่าง  ได้แก่พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล

    ที่ราบภาคใต้  ภาคใต้อยู่บนแหลมแคบ ๆ ที่มีความกว้างที่สุดไม่เกิน ๒๐๐ กิโลเมตร และส่วนที่แคบที่สุด ประมาณ ๖๐ กิโลเมตร ตอนกลางของแหลมเป็นทิวเขาโดยตลอด จึงมีที่ราบชายฝั่งทะเลผืนแคบ ๆ เป็นตอน ๆ ไม่ติดต่อกัน ที่สำคัญ ได้แก่
          ที่ราบบ้านดอน
          ที่ราบพัทลุง
          ที่ราบตานี
            นอกจากนี้ก็เป็นที่ราบแคบ ๆ ริมฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย และด้านทะเลอันดามัน
      ภูเขาและทิวเขา ลักษณะของทิวเขาเกือบจะขนานกัน ส่วนใหญ่มีแนวจากทิศเหนือลงใต้แบบเดียวกันทุกภาค  ภูเขาในประเทศไทยมีอยู่ไม่หนาแน่นมากนัก ที่มีทิศทางขวางก็มีอยู่บ้างแต่ไม่มากนัก
          ภูเขาหิน  มีอยู่ทั่วไป มีลักษณะติดต่อกันเป็นทิวใหญ่ เช่นทิวเขาถนนธงชัย ทิวเขาตะนาวศรี ภูเขาหินแบ่งออกเป็นสองชนิดคือ ชนิดหินแกรนิต เป็นหินแข็งแกร่ง มักมีลักษณะยอดไม่ใคร่แหลมชลูด มีลาดไม่ชันนัก มีน้ำอยู่ทั่วไปจึงมีป่าไม้ขนาดสูงขึ้นปกคลุม ทิวเขาชนิดนี้มีอยู่ในภาคเหนือและภาคใต้เป็นส่วนมาก  ส่วนภูเขาชนิดหินปูน เป็นหินที่ไม่เหนียวและไม่แกร่ง จึงมักถูกธรรมชาติกัดเซาะจนมีลักษณะเป็นยอดแหลมสูง มีผาชัน หาน้ำได้ยาก  จึงมีแต่ป่าไม้เล็ก ๆ ขึ้นปกคลุม หรือบางส่วนก็จะไม่มีต้นไม้เลย  บริเวณเชิงเขามักมีเนินดินสีเทา ๆ อันเกิดจากหินปูนที่แตกสลายลงมา มีลักษณะร่วนซุยเมื่อถูกฝนจะกลายเป็นเปือกตม  เขาหินปูนส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลาง และภาคใต้ตอนบนเช่น เขาในเขตจังหวัดลพบุรี สระบุรี ราชบุรี เพชรบุรี (เขาหลวง) และประจวบคีรีขันธ์ (เขาสามร้อยยอด)
           ภูเขาดิน  ประกอบด้วยดินร่วน หรือหินลูกรังปนกับหินก้อนขนาดย่อม เป็นภูเขาสูงปานกลาง ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเนินเตี้ย  ที่ทางภาคใต้เรียกว่า ควน ลาดเขามีลักษณะเป็นลาดโค้งบนเชิงเขา  โดยรอบมักเป็นพื้นราบกว้างขวาง เช่น บริเวณตอนใต้ของเขาสามมุข จังหวัดชลบุรี  หรือในภาคใต้ตั้งแต่สถานีรถไฟมาบอัมฤทธิ์ถึงสถานีห้วยสัก เป็นต้น
            ภูเขาไฟ  ภูเขาไฟในประเทศไทย เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทมานานแล้ว  เช่นที่ภูเขาหลวง จังหวัดสุโขทัย ซึ่งปรากฎมียอดเป็นปากปล่องภูเขาไฟและมีหินตะกรันอยู่โดยรอบ  ในที่ราบสูงภาคอิสานเป็นพื้นที่ภายในปากปล่องภูเขาไฟใหญ่ในอดีตซึ่งดับไปแล้ว  และก่อให้เกิดที่ราบสูงอันกว้างใหญ่ขึ้นมาแทน
            ภูเขาไฟที่ยังไม่ดับ และอยู่ใกล้ประเทศไทยเท่าที่สำรวจพบมีอยู่ ๒ แห่งคือ ภูเขาไฟโป๊ป่าในพม่า และภูเขาไฟใหญ่กับภูเขาไฟน้อยในล้านช้าง มีความสูงประมาณ ๖๕ เมตร ปากปล่องเป็นรูปไข่กว้างประมาณ ๘๐ เมตร ยาวประมาณ ๒๐๐ เมตร

    พื้นที่ย่านภูเขา  คือบริเวณที่มีทิวเขาอยู่เป็นจำนวนมาก  เป็นพื้นที่ต่อเนื่องมาจากที่ราบสูงยูนานทางด้านทิศเหนือ ทิวเขาส่วนมากมีทิศทางจากเหนือทอดลงมาทางใต้  ทิวเขาเหล่านี้ก่อให้เกิดพื้นที่ราบระหว่างหุบเขา ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง เป็นช่วง ๆ มีลักษณะพื้นที่ต่างกับพื้นที่แถบอื่น ๆ  และมีที่ตั้งอยู่ลำพังทางส่วนเหนือสุดของประเทศไทย ทิวเขาที่สำคัญได้แก่
         ทิวเขาแถบตะวันตกของประไทย  เป็นทิวเขาต่อจากชายตะวันตกของภาคเหนือ ต่อเนื่องลงไปทางใต้จนถึงภาคใต้ตลอดผืนแผ่นดินที่เป็นแหลม  ทิวเขาที่สำคัญได้แก่  ทิวเขาถนนธงชัย และทิวเขาตะนาวศรี  ซึ่งเชื่อมต่อกันเป็นปมที่บริเวณชายแดนด้านตะวันตกของจังหวัดกาญจนบุรี มีลักษณะเป็นย่านภูเขาน้อย ๆ แผ่อาณาบริเวณเข้าไปในประเทศพม่า และเข้ามาในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่
          ทิวเขาตอนใจกลางของประเทศ  ได้แก่ทิวเขาซึ่งเป็นเทือกเดียวกับ ทิวเขาทางด้านทิศตะวันออกของภาคเหนือของไทย  มีแนวทอดลงมาทางทิศใต้  ขนานกับอีกทิวเขาหนึ่งทางด้านทิศตะวันออก  พื้นที่ระหว่างทิวเขาทั้งสองนี้เป็นหุบเขาแคบ ๆ อยู่ตอนใจกลางของประเทศ ได้แก่ที่ราบสูงเพชรบูรณ์
          ทิวเขาบนที่ราบสูงตะวันออกเฉียงเหนือ  ประกอบด้วยทิวเขาหลายทิว ซึ่งกั้นเป็นขอบของที่ราบสูงแห่งนี้ มีแนวทิศทางการทอดตัวอยู่สองแนวคือ ทางด้านตะวันตกแนวหนึ่ง กับทางด้านใต้อีกแนวหนึ่ง ทิวเขาดังกล่าวนี้จะกันเอาที่ราบสูงออกไปต่างหากจากที่ราบภาคกลาง  เป็นทิวเขาที่สูงใหญ่พอสมควร ถ้าดูจากที่ราบภาคกลาง  แต่ถ้าดูจากที่ราบสูงแล้วจะเห็นเป็นทิวเขาเตี้ย ๆ เท่านั้น
          ทิวเขาแถบฝั่งทะเลด้านตะวันออกของอ่าวไทย  เป็นทิวเขาที่มีแนวเกือบขนานกับฝั่งทะเล  เมื่อทิวเขาออกพ้นเขตแดนไทยเข้าไปในกัมพูชา เป็นทิวเขาที่เก่าแก่ทิวเขาหนึ่ง
ทางน้ำ
            เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในย่านมรสุม มีฝนตกชุกในฤดูฝนที่ค่อนข้างยาวนานถึง ๖ เดือน โดยเฉลี่ยจึงก่อให้เกิดลำน้ำมากมาย  แต่ลำน้ำที่สำคัญและมีประโยชน์มีอยู่ไม่มากนัก  ลำน้ำโดยทั่วไปจะเป็นลำน้ำสายสั้น ๆ มีน้ำเฉพาะในฤดูฝน  เมื่อแบ่งลำน้ำออกเป็นพวก ๆ ตามลักษณะของพื้นที่และตามกำเนิดของลำน้ำพอจะแบ่งออกได้เป็นสี่กลุ่ม ดังนี้

    ลำน้ำในภาคเหนือ  นอกจากลำน้ำใหญ่สองสายคือ ลำน้ำสาละวิน ซึ่งไหลผ่านชายแดนด้านตะวันตก และลำน้ำโขง ซึ่งไหลผ่านชายแดนด้านตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว  ลำน้ำในภาคเหนือมีอยู่หลายสาย และมีต้นน้ำที่เกิดจากพื้นที่ย่านภูเขาในภาคเหนือเอง แทบทั้งสิ้น ได้แก่
          สาขาของลำน้ำสาละวิน  ได้แก่ ลำน้ำปาย เกิดจากเทือกเขาถนนธงชัย และเทือกเขาแดนลาวไหลผ่าน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ลงสู่แม่น้ำสาละวิน ลำน้ำเมย เกิดจากเทือกเขาถนนธงชัย ไหลไปตามซอกเขาที่กั้นเขตแดนไทยกับพม่า  ลงสู่แม่น้ำสาละวิน  ลำน้ำยวม เกิดจากทิวเขาถนนธงชัย ผ่านอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน แล้วไปบรรจบกับลำน้ำเมย  ลำน้ำสาละวิน เกิดจากบริเวณประเทศธิเบต ไหลผ่านประเทศไทย ตามแนวเส้นกั้นเขตแดนไทยกับพม่า ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน  แล้วไหลผ่านพม่าไปลงอ่าวเมาะตะมะ
          สาขาของแม่น้ำโขง ได้แก่ ลำน้ำแม่กก เกิดจากภูเขาในรัฐฉาน ไหลผ่านเมืองสาด เข้าเขตไทยในจังหวัดเชียงราย  แล้วไหลไปบรรจบลำน้ำโขงในเขต อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย  ลำน้ำฝาง เกิดจากทิวเขาแดนลาวและทิวเขาผีปันน้ำ ไหลไปบรรจบแม่น้ำกก ในเขตตำบลปางเดิม  ลำน้ำแม่สาย  เกิดจากทิวเขาในรัฐฉาน เป็นแนวเขตแดนระหว่างไทยกับรัฐฉาน  แล้วไหลไปบรรจบลำน้ำรวกที่สบสาย  ลำน้ำรวก  เกิดจากทิวเขาในรัฐฉาน ไหลไปบรรจบลำน้ำโขงที่สบรวก  ลำน้ำแม่จัน เกิดจากดอยสามเส้าในทิวเขาผีปันน้ำ ไหลไปบรรจบลำน้ำโขง ในเขตอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย  ลำน้ำแม่อิง เกิดจากทิวเขาผีปันน้ำ ในเขตจังหวัดเชียงราย ไหลไปบรรจบลำน้ำโขง ในเขตอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย  ลำน้ำโขง มีต้นน้ำอยู่ในธิเบตไหลผ่านไทยทางภาคเหนือ ในเขตอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย  และไหลผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเส้นเขตแดนไทยกับลาวโดยตลอดตั้งแต่ อำเภอเชียงคานจังหวัดเลย ไปจนถึงอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี แล้วไหลผ่านประเทศลาว กัมพูชา เวียตนาม ลงสู่ทะเลจีน ในเวียตนาม
          สาขาของลำน้ำเจ้าพระยา  ได้แก่ ลำน้ำปิง ยาวประมาณ ๗๗๕ กิโลเมตร  เกิดจากทิวเขาแดนลาว ไหลเลาะไปตามทิวเขาถนนธงชัยผ่านจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ตาก กำแพงเพชร ไปบรรจบกับสาขาอื่นของลำน้ำเจ้าพระยา ในเขตตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง ฯ จังหวัดนครสวรรค์  ลำน้ำวัง ยาวประมาณ ๓๐๐ กิโลเมตร  เกิดจากทิวเขาผีปันน้ำ และเทือกเขาขุนตาล ในเขตจังหวัดลำปาง ไหลผ่านจังหวัดกำแพงเพชร ไปบรรจบลำน้ำปิง ในเขตอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก  ลำน้ำยม ยาวประมาณ ๕๐๐ กิโลเมตร เกิดจากทิวเขาผีปันน้ำ ไหลผ่านจังหวัดสุโขทัย ไปบรรจบลำน้ำน่าน ในเขตอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์  ลำน้ำน่าน ยาวประมาณ ๖๐๐ กิโลเมตร  เกิดจากทิวเขาหลวงพระบาง ไหลขนานกับลำน้ำยมลมาทางใต้ ผ่านจังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร แล้วไหลไปบรรจบกับสาขาอื่นของลำน้ำเจ้าพระยา ในเขตตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง ฯ จังหวัดนครสวรรค์


      ลำน้ำในภาคกลาง  สายน้ำที่สำคัญคือ ลำน้ำเจ้าพระยา ซึ่งก็เป็นลำน้ำสายสำคัญที่สุดของประเทศไทย เนื่องจากเป็นลำน้ำขนาดใหญ่ ไหลผ่านที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศ  ส่วนลำน้ำสายอื่น ๆ ก็มีความสำคัญรองลงไป  ลำน้ำที่สำคัญในภาคกลางได้แก่  ลำน้ำเจ้าพระยา ยาวประมาณ ๗๐๐ กิโลเมตร  เป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่สุดนับเป็นเส้นโลหิตใหญ่ของประเทศ  เริ่มต้นจากตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง ฯ จังหวัดนครสวรรค์ ไหลผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพ ฯ และสมุทรปราการ ไหลลงสู่อ่าวไทยที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ  ลำน้ำป่าสัก ยาวประมาณ ๔๕๐ กิโลเมตร  เกิดจากทิวเขาเพชรบูรณ์ ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ ไหลผ่านที่ราบในหุบเขาเพชรบูรณ์ ผ่านจังหวัดลพบุรี สระบุรี ไปบรรจบลำน้ำเจ้าพระยา ในเขตจังหวัดอยุธยา  ลำน้ำท่าจีน  ยาวประมาณ ๒๓๐ กิโลเมตร  เป็นสาขาแยกจากลำน้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดอุทัยธานี แล้วไหลขนานกับแม่น้ำเจ้าพระยา ทางด้านตะวันตก ลงสู่อ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรสาคร ลำน้ำลพบุรี เป็นสาขาแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่บางพุทรา จังหวัดสิงห์บุรี ไหลผ่านจังหวัดลพบุรี แล้วไหลไปบรรจบ ลำน้ำเจ้าพระยาในเขตจังหวัดอยุธยา  นอกจากนี้ยังมีสาขาแยกเล็ก ๆ อีกหลายสาย เช่น  ลำน้ำสะแกกรัง ในเขตจังหวัดอุทัยธานี  ลำน้ำโผงเผง ในเขตจังหวัดอ่างทอง และลำน้ำบางบาน ในเขตจังหวัดอยุธยา
            ลำน้ำที่ไหลลงสู่อ่าวไทยด้านตะวันออก ที่สำคัญได้แก่  ลำน้ำบางปะกง ยาวประมาณ ๓๐๐ กิโลเมตร  เกิดจากทิวเขาพนมดงรัก แล้วไหลไปทางตะวันตก ผ่านจังหวัดปราจีนบุรี นครนายก ลงสู่อ่าวไทยในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา ลำน้ำสายนี้มีชือเรียกต่างกันตามท้องถิ่นที่ลำน้ำไหลผ่าน เช่นลำน้ำพระปรง ลำน้ำประจีน  ลำน้ำระยอง ยาว ๓๐ กิโลเมตร  เกิดจากภูเขาในเขตจังหวัดระยองไหลลงสู่ทะเลในเขตจังหวัดระยอง  ลำน้ำประแส ยาว ๒๗ กิโลเมตร  ลำน้ำจันทบุรียาว ๘๖ กิโลเมตร เกิดจากทิวเขาจันทบุรี ไหลลงสู่ทะเลที่อำเภอท่าแฉลบ จังหวัดจันทบุรี  ลำน้ำเวฬ ยาว ๖๔ กิโลเมตร  เกิดจากทิวเขาจันทบุรี ไหลลงสู่ทะเลที่อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี  ลำน้ำตราด เกิดจากทิวเขาจันทบุรี และทิวเขาบรรทัด ไหลลงสู่ทะเลที่อำเภอ แหลมงอบ จังหวัดตราด
            ลำน้ำที่ไหลลงสู่อ่าวไทยด้านตะวันตก  ที่สำคัญมีอยู่ ๓ สายด้วยกันคือ  ลำน้ำแม่กลอง ยาว ๓๐๐ กิโลเมตร  ประกอบด้วย แควน้อย และแควใหญ่  แควใหญ่ ยาว ๓๐๐ กิโลเมตร  ไหลไปบรรจบลำน้ำแม่กลองที่อำเภอปากแพรก จังหวัดกาญจนบุรี  แควน้อย ยาว ๒๒๗ กิโลเมตร ไหลไปบรรจบลำน้ำแม่กลองที่อำเภอเมือง ฯ จังหวัดกาญจนบุรี ลำน้ำเพชรบุรี ยาว ๑๐๐ กิโลเมตร  เกิดจากทิวเขาตะนาวศรี ไหลลงสู่ทะเลที่อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
       ลำน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ที่สำคัญได้แก่  ลำน้ำมูล ยาว ๖๒๐ กิโลเมตร  เกิดจากทิวเขาสันกำแพง ไหลขนานกับทิวเขาพนมดงรักไปทางทิศตะวันออก ไปบรรจบลำน้ำโขงที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี  ลำน้ำชี ยาว ๖๐๐ กิโลเมตร  เกิดจากทิวเขาเพชรบูรณ์ และทิวเขาเก้าลูก ไหลลงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ไปบรรจบลำน้ำมูลที่อำเภอเมือง ฯ จังหวัดอุบลราชธานี นอกจากนี้ก็มี  ลำน้ำเลย และลำน้ำสงคราม
       ลำน้ำในภาคใต้  แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ

          ลำน้ำที่ไหลลงสู่อ่าวไทย  มีอยู่ ๗ สายด้วยกันได้แก่ ลำน้ำชุมพร ยาว ๑๐๐ กิโลเมตร  เกิดจากแคว ๒ แควจากทิวเขาตะนาวศรี และทิวเขาระนอง แล้วไหลไปรวมกันที่ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร  คลองชุมพร อยู่ทางตะวันออกของลำน้ำชุมพร  ลำน้ำหลังสวน เกิดจากทิวเขาระนอง ไหลลงสู่ทะเลที่ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร  ลำน้ำตาปี ยาว ๓๐๐ กิโลเมตร เกิดจากทิวเขาภูเก็ต และทิวเขานครศรีธรรมราช ไหลลงสู่อ่าวไทยที่อำเภอบ้านดอน เป็นลำน้ำที่เกิดจากแควคีรีรัฐ และแควน้ำหลวง  ลำน้ำปัตตานี เกิดจากทิวเขาสันกาลาคีรี ไหลขึ้นมาทางเหนือ ลงสู่อ่าวไทยที่จังหวัดปัตตานี  ลำน้ำสายบุรี ยาว ๑๗๐ กิโลเมตร  เกิดจากทิวเขาสันกาลาคีรี ไหลลงสู่ทะเลที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี  ลำน้ำโกลก เกิดจากทิวเขาสันกาลาคีรี เป็นแนวเขตแดนไทยกับมาเลเซีย
          ลำน้ำที่ไหลลงมหาสมุทรอินเดีย  มีอยู่ ๒ สายคือ  ลำน้ำปากจั่น หรือลำน้ำกระ ยาว ๑๒๓ กิโลเมตร เกิดจากเทือกเขาตะนาวศรี ไหลไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ไหลออกสู่ทะเลที่อ่าวระนอง จังหวัดระนอง  ลำน้ำตรัง ยาว ๑๓๗ กิโลเมตร  เกิดจากทิวเขานครศรีธรรมราช ไหลไปทางทิศใต้ลงสู่ทะเลที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ทะเลสาบ บึงและหนอง
      ทะเลสาบ  มีอยู่เพียง ๒ แห่งคือ  ทะเลสาบสงขลา และทะเลน้อย
      บึงและหนอง  มีกระจายอยู่ทั่วไปทั้งประเทศที่สำคัญ ในแต่ละภาคมีดังนี้
          ภาคเหนือ  มีหนองเล้งทราย ในเขตบ้านแม่โจ้ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย กว๊านพะเยา อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ จังหวัดพะเยา  หนองหล่ม อยู่ในเขตอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
          ภาคกลาง  มีบึงบรเพ็ด อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ จังหวัดนครสวรรค์  บึงสีไฟ อยู่ในเขตอำเภอท่าหลวง จังหวัดพิจิตร  บึงราชนก ในเขตอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก  บึงจอมบึง อยู่ในเขตอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี  บึงสระสี่มุม อยู่ทางฝั่งขวาของลำน้ำไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
          ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีหนองระหาร อยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร หนองหารอยู่ในเขตอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี หนองพันสัก อยู่ในเขตจังหวัดมหาสารคาม
ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/geography/geo2.htm

ภูเขาที่สำคัญในประเทศไทย

ภูเขา หรือเทือกเขาหมายถึง ลักษณะภูมิประเทศ ที่มีความสูงตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไปจากพื้นที่บริเวณรอบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเนินเขา แต่ว่าเนินเขานั้น จะมีพื้นที่สูงจากบริเวณรอบ ๆ ประมาณ 150 แต่ไม่เกิน 600 เมตรภูเขาสามารถแบ่ง เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
ภูเขาโก่งตัว เกิดจากการบีบอัดตัวของหินหนืด ในแนวขนาน
ภูเขาเลื่อนตัวหรือหักตัว เกิดจากการเลื่อนของหินทำให้มีการยกตัวและการทรุดตัวเกิดเป็นภูเขา
ภูเขาโดม เกิดจากการที่หินหนืดดันตัว แต่ว่ายังไม่ทันพ้นพื้นผิวของโลก ก็เย็นตัวก่อน
ภูเขาไฟ เกิดจากการที่หินละลาย ก่อตัวและทับถมกัน


ภูเขาที่สำคัญในประเทศไทย

ภูเขาหรือเทือกเขาเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ เพราะไม่เพียงอุดมไปด้วยป่าไม้ สัตว์ป่า และแร่ธาตุต่าง ๆ เท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารสายสำคัญที่ใช้หล่อเลี้ยงชีวิตของผู้คน พืชพรรณ และนานาชนิดอีกด้วยผลประโยชน์ทางอ้อมอีกอย่างหนึ่งก็คือ สามารถใช้เป็นแนวพรมแดนธรรมชาติกั้นระหว่างประเทศหรือใช้เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างภูมิภาคได้อีกด้วย เทือกเขาสำคัญในแต่ละภูมิภาคของไทยเรามีดังนี้

ภาคเหนือ

1. เทือกเขาแดนลาว : เป็นแนวพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับสหภาพเมียนมาร์ ตัวเทือกเขาทอดยาวจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือมายังตะวันตกเฉียงใต้ครอบคลุมพื้นที่ทางตะวันตกของจังหวัดเชียงรายและตอนเหนือของจังหวัดเชียงใหม่มีความยาวทั้งสิ้น 1,330 กิโลเมตร แต่ส่วนที่อยู่ในเขตประเทศไทยมีความยาวเพียง 120 กิโลเมตร ส่วนที่สูงที่สุดคือ ?ดอยผ้าห่มปก? ซึ่งมีความสูงประมาณ 2,146 เมตร

2. เทือกเขาจอมทอง : เป็นแนวเขาที่อยู่ต่อเนื่องมาจากเทือกเขาถนนธงชัยไปทางตะวันตกของจังหวัดเชียงใหม่โดยมีส่วนที่สูงที่สุดอยู่ที่ ?ดอกอินทนนท์? ซึ่งสูงถึง 2,565 เมตร นับเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของไทยด้วย

3. เทือกเขาถนนธงชัย : เป็นแนวพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสหภาพเมียนมาร์เช่นกัน โดยตั้งอยู่ในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ มายังตะวันออกเฉียงใต้ ไล่ลงมาตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก อุทัยธานี จนถึงจังหวัดกาญจนบุรี นับเป็นเทือกเขาที่ยาวที่สุดของไทย คือมีความยาวถึง 880 กิโลเมตร ส่วนที่สูงที่สุดคือ ?เขาใหญ่? มีความสูงประมาณ 2,152 เมตร

4. เทือกเขาผีปันน้ำ : ตั้งอยู่ตามแนวเหนือ-ใต้ ตั้งแต่ตอนใต้ของจังหวัดเชียงราย ไล่ลงมาทางตะวันตกของจังหวัดพะเยา ผ่านจังหวัดแพร่ และสิ้นสุดที่จังหวัดลำปาง มีความยาวประมาณ 412 กิโลเมตร โดยมีส่วนที่สูงที่สุดอยู่ในเขตจังหวัดพะเยา ซึ่งมีความสูงราว 1,697 เมตร

5. เทือกเขาขุนดาล : เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาผีปันน้ำ ตั้งอยู่ตามแนวเหนือ-ใต้ ตั้งแต่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลงมาจนถึงจังหวัดลำปาง เป็นเทือกเขาที่มีอุโมงค์รถไฟความยาว 1,326.05 เมตรลอดผ่าน ส่วนที่สูงที่สุดของเทือกเขานี้อยู่ที่ ?ดอยลังกา? ซึ่งมีความสูง 2,031 เมตร สำหรับ ?ดอยขุนดาล? ที่รู้จักกันทั่วไปมีความสูงประมาณ 1,374 เมตรเท่านั้น

6. เทือกเขาหลวงพระบาง : เป็นแนวพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตั้งอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ตั้งแต่ตอนเหนือของจังหวัดน่าน และจังหวัดพะเยาเลื่อนลงมาจนถึงจังหวัดพิษณุโลก มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 590 กิโลเมตร ส่วนที่สูงที่สุดคือ ?ดอยขุนดาล"ว

7. เทือกเขาเพชรบูรณ์ : เป็นเทือกเขาที่อยู่ต่อเนื่องจากเทือกเขาหลวงพระบางครอบคลุมตั้งแต่ภาคเหนือตอนล่างลงมาถึงภาคกลางตอนบน มีความยาวรวม 586 กิโลเมตร สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกตั้งแต่ทางตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก ผ่านจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ ขอนแก่น และชัยภูมิ มีความยาว 236 กิโลเมตรและส่วนที่สองเริ่มจากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำป่าสักผ่านจังหวัดเลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และลพบุรี มีความยาว 350 กิโลเมตร


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

1. เทือกเขาพนมดงรัก : เป็นแนวพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย ทอดตัวตามแนวตะวันออก-ตะวันตก ตั้งแต่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ถึงอุบลราชธานี รวมความยาวทั้งสิ้น 544 กิโลเมตร

2. เทือกเขาสันกำแพง : อยู่ต่อเนื่องจากเทือกเขาดงพญาเย็น ทอดเป็นแนวยาวตั้งแต่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดนครราชสีมา และทางเหนือของจังหวัดนครนายก ผ่านจังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว มีความยาวทั้งสิ้น 185 กิโลเมตร

3.เทือกเขาภูพาน : เป็นเทือกเขาที่ทอดตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มจากจังหวัดอุดรธานี ผ่านกาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร

ภาคกลาง

1. เทือกเขาดงพญาเย็น : ทอดตัวต่อเนื่องจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ เป็นแนวกั้นเขตระหว่างภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มจากจังหวัดลพบุรี ผ่านบางส่วนของนครราชสีมาจนถึงนครนายก รวมความยาวประมาณ 129 กิโลเมตรนอกจากนี้ยังมีบางส่วนของเทือกเขาเพชรบูรณ์ที่ยอดยาวลงมาจากภาคเหนือซึ่งใช้เป็นแนวเขตระหว่างภาคเหนือและภาคกลางของไทยด้วย

ภาคตะวันออก

1. เทือกเขาจันทบุรี : ตั้งอยู่ในแนวตะวันตก-ตะวันออก เริ่มจากจังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ตราด จนจังหวัดจันทบุรี มีความยาวทั้งสิ้น 281 กิโลเมตร ส่วนที่สูงที่สุด คือ ?เขาสอยดาวใต้? ซึ่งมีความสูง 1,670 เมตร

2 .เทือกเขาบรรทัด : เป็นเทือกเขาที่อยู่ทางตอนกลางของภาค ทำหน้าที่กั้นพรมแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาประชาธิปไตย ตั้งแต่ทางตอนเหนือของจังหวัดตราดไปจนถึงเขตอำเภอคลองใหญ่ของจังหวัดตราดเช่นเดียวกัน รวมความยาวได้ประมาณ 144 กิโลเมตร ส่วนที่สูงที่สุดอยู่ตรง ?เขาตะแบงใหญ่? ซึ่งสูง 914 เมตร

ภาคตะวันตก

1 เทือกเขาตะนาวศรี : เป็นแนวต่อเนื่องจากเทือกเขาถนนธงชัย เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับสหภาพเมียนมาร์ เริ่มตั้งแต่จังหวัดกาญจนบุรีลงไปทางใต้ ผ่านจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร มีความยาวประมาณ 834 กิโลเมตรนอกจากนี้ยังมีทิวเขาถนนธงชัยตอนกลางและตอนใต้เป็นแนวพรมแดนระหว่างไทยกับสหภาพเมียนมาร์ที่ทอดยาวมาตั้งแต่ภาคเหนือลงมาจนถึงพื้นที่ในเขตภาคตะวันตกอีกด้วย

ภาคใต้

1. เทือกเขาภูเก็ต : เป็นแนวเทือกเขาต่อเนื่องมาจากเทือกเขาตะนาวศรีเริ่มจากจังหวัดชุมพรทอดขนานไปกันชายฝั่งทะเลของชุมพร พังงา กระบี่ จนถึงจังหวัดนครราชสีธรรมราช รวมความยาวประมาณ 517 กิโลเมตร ส่วนที่สูงที่สุด คือ ?เขาพนมเบญจา? ซึ่งสูง 1,397 เมตร

2. เทือกเขานครศรีธรรมราช : เป็นเทือกเขาที่ต่อเนื่องมาจากเทือกเขาภูเก็ตโดยเริ่มจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง แล้วไปสิ้นสุดที่จังหวัดสตูล รวมความยาวได้ประมาณ 319 กิโลเมตร ?เขาหลวง? คือส่วนที่สูงที่สุดมีความสูงราว 1,835 เมตร

3. เทือกเขาสันกาลาคีรี : เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับสหพันธรัฐมาเลเซียตั้งแต่บริเวณจังหวัดสตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาส รวมความยาว 428 กิโลเมตร ส่วนที่สูงที่สุดอยู่ที่ ?ฮูลูติติปาซา? มีความสูง 1,535 เมตร

ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.baanmaha.com/community/thread21969.html
[โค้ดเพลงเพียบคลิกเลย]

วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เที่ยวป่าชมภูเขา

อุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก จังหวัดเชียงใหม่
ดอยฟ้าห่มปก ดอยสูงอันดับ 2 ของประเทศไทย ด้วยความสูงประมาณ 2,285 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง บนยอดดอยสูงเป็นทุ่งโล่งอันเกิดจากสภาพธรณี วิทยาที่มีชั้นดินตื้น พื้นเป็นหินแกรนิต ประกอบกับมีลมกระโชกแรงตลอดทั้งปี จากยอดดอยจะเห็นทิวทัศน์ทะเลหมอกและถนนบนสันเขาขนานกับชายแดนไทย-พม่า จุดเด่นอีกอย่างของอุทยานฯ แห่งนี้คือ บ่อน้ำร้อนธรรมชาติที่เกิดจากความร้อนใต้ดินมีจำนวนมากมายหลายบ่อ ในพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ ไอร้อนกรุ่นพวยพุ่งอยู่ตลอดเวลา อุณหภูมิของน้ำประมาณ 40-88 องศาเซลเซียส บ่อหนึ่งทางอุทยานฯ เจาะช่องใส่ท่อให้น้ำพุร้อนขึ้นสูงถึง 40-50 เมตร พร้อมทั้งได้จัดบริการห้องอาบน้ำแร่และอบไอน้ำ บ่อน้ำร้อนจะอยู่ใกล้กับที่ทำการอุทยานฯ นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติขึ้นเขาผ่านป่าเบญจพรรณ มาถึงบ่อน้ำร้อน ระยะทางประมาณ 1.2 กิโลเมตรอีกด้วย

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน จังหวัดลำปาง
ผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร โดดเด่นในความเป็นอุทยานแห่งชาติที่เน้นการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ ด้วยมีแอ่งอาบน้ำอุ่นที่เกิดจากน้ำร้อนในบ่อน้ำพุร้อนมาบรรจบกับน้ำเย็นที่ มาจากน้ำตกแจ้ซ้อน ดำเนินงานตามแนวพระราชดำริในการใช้พลังงานน้ำธรรมชาติมาประยุกต์ อุทยานฯ ใช้ไฟฟ้าที่ผลิตเองจาก โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกแจ้ซ้อน ที่บนเส้นทางพบสัตว์หายากอย่างนกเขนเทาหางแดง ปลาปุง รวมทั้งพรรณไม้ต่างๆ สามารถศึกษาระบบนิเวศและสภาพภูมิศาสตร์โดยรอบลานน้ำพุร้อน และเส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกแม่เปียก ศึกษาความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศและการนำทรัพยากรจากป่ามาใช้ประโยชน์

อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จังหวัดเพชรบูรณ์
แหล่งธรรมชาติที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์สอดแทรกอยู่ แหล่งท่องเที่ยวจึงแบ่งออกเป็นด้านประวัติศาสตร์ ได้แก่ สถานที่ต่างๆ ที่อดีตพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเคยใช้เป็นฐานที่มั่น ซึ่งสถานที่เหล่านี้ได้รับการดูแลรักษาให้คงอยู่ในสภาพเดิม เช่น ผาชูธง โรงเรียนการเมืองการทหาร ในขณะที่ด้านธรรมชาติ ภูหินร่องกล้าก็ยังมีสภาพภูมิทัศน์สวยงาม แปลกตา ผิดจากเทือกเขาโดยทั่วไป ได้แก่ ลานหินแตก ลานหินปุ่ม ซึ่งเกิดจากการโก่งตัวหรือเคลื่อนตัวของผิวโลก การสึกกร่อนตามธรรมชาติของหิน ปกคลุมไปด้วยมอส ไลเคน ตะไคร่ เฟิร์น และกล้วยไม้ชนิดต่างๆ ทั้งยังอุดมด้วยน้ำตกสวยอีกหลายแห่ง เช่น น้ำตกหมันแดง น้ำตกร่มเกล้าภราดร น้ำตกศรีพัชรินทร์ น้ำตกแก่งลาด และน้ำตกตาดฟ้า
อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
อุทยานฯ ที่มีพื้นที่มากที่สุดของประเทศไทย คือ 2,915 ตารางกิโลเมตร เป็นป่าดิบชื้น ภูเขาสลับซับซ้อนอยู่ในเทือกเขาตะนาวศรี สภาพภูมิประเทศอุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ป่ามากจึงมีชื่อเสียงในด้านการเป็นแหล่งดูนกที่มีนกให้ดูมากที่สุด แห่งหนึ่ง คือ 430 ชนิด จาก 900 กว่าชนิดที่มีในประเทศไทย ทั้งยังเป็นแหล่งดูผีเสื้อแห่งสำคัญเพราะมีมากกว่า 150 ชนิด โดยมีจุดพักค้างแรมกางเต็นท์สำหรับผู้สนใจดูนกและผีเสื้อที่บ้านกร่างแคมป์ ในขณะเดียวกันยังมีจุดชมทะเลหมอกในตอนเช้าได้สวยงาม คือที่แคมป์พะเนินทุ่ง หรือ กม. 30 อันเป็นจุดกางเต็นท์พักแรมของอุยานฯ

อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่
เหนือภูเขาสูงสลับซับซ้อนหลายลูก อันได้แก่ ดอยสุเทพ ดอยบวกห้าและดอยปุย เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารลำห้วย เช่น ห้วยแก้ว ห้วยช่างเคี่ยน ห้วยแม่ปาน ที่ไหลลงสู่แม่น้ำปิง และน้ำตกงามอีกหลายแห่ง ได้แก่ น้ำตกมณฑาธาร น้ำตกแม่สา เป็นน้ำตกที่สวยงาม น้ำตกตาดหมอก-วังฮาง น้ำตกตาดหมอกฟ้า น้ำตกมหิดล น้ำตกศรีสังวาล น้ำตกผาลาด และน้ำตกห้วยแก้ว ยังมีหน้าผาอันเป็นจุดชมทิวทัศน์หลายแห่ง โดยเฉพาะยอดดอยปุยซึ่งเป็นป่าสนเขา มองเห็นทัศนียภาพได้โดยรอบ ทั้งยังสามารถเยี่ยมเยือนหมู่บ้านชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ เช่น ม้ง เย่า อาข่า ลีซอ มูเซอ ได้สะดวก เพราะมีทางเดินไปถึงทุกหมู่บ้าน บนเส้นทางขึ้นสู่อุทยานฯ ยังมีจุดแวะน่าสนใจอย่างอนุสาวรีย์ครูบาวิชัย และพระตำหนักภูพิงราชนิเวศน์ ซึ่งประดับประดาด้วยดอกไม้นานาพรรณงดงามตระการตา

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง จังหวัดเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน
เป็นผืนป่าต้นน้ำลำธารที่โดดเด่นด้วยป่าและธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และทิวเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน มีจุดชมทิวทัศน์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย คือ จุดชมวิวห้วยน้ำดัง อันเป็นสถานที่ซึ่งสามารถชมทะเลหมอกยามเช้าได้อย่างชัดเจนงดงาม ท่ามกลางแสงสีทองของอรุณรุ่ง แต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวนับพันมาพักแรมเพื่อรอชม นอกจากนี้ ยังมียอดดอยที่มีธรรมชาติงดงามอีกหลายแห่ง เช่น ดอยช้าง ดอยสามหมื่น รวมทั้งโป่งเดือดซึ่งเป็นน้ำพุร้อนธรรมชาติ ทางอุทยานฯ ได้จัดสร้างบ้านพักพร้อมบ่อสำหรับอาบน้ำแร่แช่น้ำร้อนครบวงจรพร้อมบริการ

สถานีเกษตรหลวงดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่
สถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว ที่ทรงต้องการเปลี่ยนพื้นที่จากไร่ฝิ่นของชาวไทยภูเขามาเป็นแปลงเกษตรเมือง หนาวที่สามารถสร้างรายได้ วันนี้ดอยอ่างขางได้เปลี่ยนสภาพจากภูเขาซึ่งถูกตัดไม้ทำลายป่ามาเป็นพื้นที่ อุดมสมบูรณ์ สภาพอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี มีแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจให้เที่ยวชมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นไม้ดอกเมืองหนาวกว่า 20 ชนิด พันธุ์ไม้ผลกว่า 12 ชนิด และแปลงผักเมืองหนาวอีกกว่า 60 ชนิด รวมทั้งหมู่บ้านชาวไทยภูเขาหลายเผ่า คือ จีนฮ่อ ไทยใหญ่ มูเซอดำ และปะหล่อง ทิวทัศน์ชายแดนไทย-พม่า อีกทั้งยังเป็นแหล่งดูนกสำคัญที่มีนกน่าสนใจหลายชนิด

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา-นครนายก-ปราจีนบุรี-สระบุรี
อุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2505 ได้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2548 โดยขึ้นทะเบียนร่วมกับป่า 5 ผืนใหญ่ คือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติตาพระยา อุทยานแห่งชาติทับลาน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ถือว่าเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งที่ 2 ของไทย ต่อจากผืนป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง เขาใหญ่เป็นแหล่งที่สามารถพบเห็นสัตว์ป่าน้อยใหญ่นานาชนิด ทั้งยังมีน้ำตกใหญ่ที่สวยงาม เช่น น้ำตกเหวนรก น้ำตกเหวสุวัต น้ำตกผากล้วยไม้ และน้ำตกอื่นๆ อีกมากมายกว่า 20 แห่ง รวมทั้งยังมีเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติอีก 13 เส้นทาง จึงเป็นขวัญใจของบรรดานักท่องเที่ยวผู้ชื่นชอบสัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิดมา ตลอดทุกยุคทุกสมัย

อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จังหวัดเลย
อุทยานแห่งชาติลำดับที่ 2 ของประเทศไทยต่อจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เหนือที่ราบกว้างใหญ่บนยอดภูสูง 1,200 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง งามตาด้วยทิวสนเรียงราย นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ชื่นชอบภูกระดึงเพราะความหลากหลายในด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากมีหน้าผาจุดชมทิวทัศน์มากมายหลายจุด ที่โด่งดังเป็นที่รู้จักคือจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่ผานกแอ่นและจุดชมพระ อาทิตย์ตกที่ผาหล่มสัก ทั้งยังมีน้ำตกขนาดกลางและขนาดเล็กที่สวยงาม เช่น น้ำตกถ้ำใหญ่ น้ำตกวังกวาง น้ำตกธารสวรรค์ ฯลฯ อีกทั้งสภาพป่าที่มีทั้งป่าสนเขา ป่าดิบเขา ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ ทำให้มีพรรณไม้แปลกๆ สวยงามในยามดอกไม้ป่าสะพรั่งบานเปรียบเสมือนกับอุทยานบนสรวงสวรรค์
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
สุดยอดเหนือใครในสยามประเทศด้านความสูงด้วยดอยอินทนนท์ ยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย 2,565 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ท่ามกลางเทือกเขาสลับซับซ้อน อากาศหนาวเย็นตลอดปี แวดล้อมด้วยสภาพป่าแบบดึกดำบรรพ์ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพรรณไม้หลากหลายชนิด และนกสวยงามนานาพันธ์ุ ด้วยเป็นป่าต้นน้ำ จึงมีน้ำตกสวยงามขนาดใหญ่หลายแห่ง เช่น น้ำตกแม่ยะ น้ำตกสิริภูมิ น้ำตกแม่กลาง ฯลฯ ทั้งยังเป็นที่ตั้งของพระมหาธาตุนภเมทนีดลและพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ ซึ่งกองทัพอากาศสร้างถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบอีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://travel.sanook.com
http://radio.sanook.com/music/player/โอ๊ย-โอ๊ย---เบน-ชลาทิศ/49167